ความรู้สึก
สัปดาห์นี้ได้มีโอกาส ทำจิตศึกษาและbody
scan รู้สึกตื่นเต้นถึงแม้จะเคยเห็นมาบ่อยแล้วก็ตาม
แต่พอได้ทำก็ยังเขินๆอยู่ทำถูกบ้างผิดบ้าง แต่ก็สามารถดำเนินกิจกรรมไปได้
ในการสอนวิชาภาษาไทย สัปดาห์นี้บริหารเวลาไม่ค่อยลงตัว สอนนาน
แล้วให้เวลาเด็กทำงานน้อยจึงทำให้มีงานค้างเยอะ
และกิจกรรมในขั้นชงยังไม่ค่อยชัดเจน
ก็จะพยายามปรับตัวให้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนให้ดีขึ้นกว่าเดิม
ป.๕
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจความรับผิดชอบหน้าที่ด้วยความเพียรพยายาม ละเอียดรอบคอบ เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายและสามารถอ่าน เขียนและอธิบายลักษณะคำเป็น คำตายและจำแนกได้และสามารถนำคำเป็น คำตายไปสร้างสรรค์งานเขียนตามรูปแบบที่ตนสนใจได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๓
๓๐ พ.ค. –๒ มิ.ย.
๒๕๕๙
|
วรรณกรรมเรื่อง : น้องแป้ง ตอน ๓
หลักภาษา : คำเป็น คำตาย
Key Questions :
- ถ้าหากน้องแป้งเป็นมนุษย์น้องแป้งจะมีอายุประมาณเท่าไร
-คำเป็นคำตายมีลักษณะอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Show and Share
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง การสืบค้นข้อมูลและนำเสนอ
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
-บัตรคำ
- หนังสือน้องแป้ง ตอน ๓
-ห้องสมุด
-อินเตอร์เน็ต
|
วันจันทร์
ชง : นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์ ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปความเข้าใจวรรณกรรมโดยวาดภาพประกอบ
-นักเรียนนำเสนอและอภิปรายร่วมกัน
วันอังคาร
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “คำเป็นคำตายมีลักษณะอย่างไร”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
-ครูนำบัตรคำมาให้นักเรียนจัดหมวดหมู่
-นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่คำ (คำเป็น คำตาย)
วันพุธ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเคยได้ยินกฎการท่องจำคำเป็นคำตายที่ว่า กบฏ นมยวง หรือไม่ นักเรียนเห็นอะไรจากสองคำนี้?”
เชื่อม : -นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
-เล่นเกมชื่อคำเป็นคำตาย
ใช้ : นักเรียนสรุปความเข้าใจโดยหาคำเป็นคำตายในวรรณกรรมไปแต่งประโยค
วันพฤหัสบดี
ชง: ครูทบทวนความรู้เรื่องคำเป็นคำตาย
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้ : นักเรียนสรุปความเข้าใจโดยนำคำเป็นคำตายไปเขียนเป็นการ์ตูนช่อง
|
ภาระงาน
- การอ่านวรรณกรรม เรื่อง เรื่องน้องแป้ง ตอน ๓
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
-สรุปเรื่องที่อ่านวาดภาพประกอบ
-การจัดหมวดหมู่คำเป็น คำตาย
-การเล่นเกมชื่อคำเป็น คำตาย
-การค้นหาคำเป็นคำตาย
-การแต่งประโยค คำเป็น คำตาย
-สรุปความเข้าใจเรื่องคำเป็นคำตายเป็นการ์ตูนช่อง
ชิ้นงาน
- ภาพวาด
-การแต่งประโยค
-การ์ตูนช่อง
|
ความรู้ : เข้าใจความรับผิดชอบหน้าที่ด้วยความเพียรพยายาม ละเอียดรอบคอบ เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายและสามารถอ่าน เขียนและอธิบายลักษณะคำเป็น คำตายและจำแนกได้และสามารถนำคำเป็น คำตายไปสร้างสรรค์งานเขียนตามรูปแบบที่ตนสนใจได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะ ICT
-นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- กล้าพูดกล้าแสดงออก
|
ภาพกิจกรรม



ชิ้นงาน




บันทึกหลังสอน
สัปดาห์นี้พี่ๆ ได้อ่านวรรณกรรมเรื่อง น้องแป้ง ตอน “๓” ซึ่งเริ่มจากการให้พี่ๆได้จับคู่กันอ่านออกเสียงพร้อมๆกันอ่านสลับชายหญิงหลังจากอ่านจบ ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดต่ออีกว่า “นักเรียนคิดว่าการดูแลน้องแป้งฝึกอะไร?” พี่อั้ม “ความรับผิดชอบ” พี่น้ำอ้อย ”การดูแล” พี่บาส “การฝึกเป็นพ่อเป็นแม่”จากนั้นให้นักเรียนสรุปเรื่องโดยการทำเป็นภาพวาดตอนที่สำคัญ จากนั้นครูนำบัตรคำแจกพี่ๆคนละคำและให้นำไปติดบนกระดาน และอ่านออกเสียงพร้อมกัน ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “พี่ๆสังเกตเห็นอะไร?” พี่อั้ม “คำซ้ำ” พี่บาส ”คำซ้ำคำซ้อน” พี่แป้ง “คำเป็นคำตาย” “พี่แป้งสังเกตจากอะไรคะ?” พี่แป้ง”มาตราตัวสะกดและการอ่านออกเสียงสั้นเสียงยาว” ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “คำตายเป็นอย่างไร?” พี่กุ๊ก “คำตายจะสะกดด้วยแม่ กก กด กบและมีสระเสียงสั้น” พี่อั้ม”คำตายจะท่องจำว่า กบฏ อ่านออกเสียงสั้น คำเป็นจะท่องจำว่า นมยวง อ่านออกเสียงยาว”จากนั้นให้จัดหมวดหมู่คำ และเลือกคำไปแต่งประโยค ต่อมาเล่นเกมคำเป็นคำตาย โดยชื่อใครเป็นคำเป็นให้ยืนขึ้น และชื่อใครเป็นคำตายให้นั่งลง และให้ค้นหาคำเป็นคำตายจากในวรรณกรรม จากนั้นครูทบทวนความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และสรุปความเข้าใจเป็นการ์ตูนช่อง พี่ๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างมาก พี่ๆจะสนใจกิจกรรมที่เป็น active learning มีความกล้าแสดงออก
ป.๖
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจการรับประทานอาหารของครอบครัวไทยนั่งรับประทานอาหารกับพื้น ใช้ผ้าสะอาดหรือเสื่อปูลาดบนพื้นบ้าน ผู้ที่จะรับประทานนั่งล้อมวงกัน และรู้และเข้าใจในการเขียนคำไทยให้ถูกต้องจากคำไทยที่มักเขียนผิดและสามารถนำการเขียนที่ถูกต้องไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพในชีวิตประจำวัน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๓
๓๐ พ.ค.– ๒ มิ.ย.
๒๕๕๙
|
วรรณกรรมเรื่อง : วรรณกรรมเรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน ร่วมโต๊ะ
หลักภาษา :
คำที่มักเขียนผิด
Key Questions :
- ทำไมเราจึงต้องรู้เรื่องมารยาทบนโต๊ะอาหาร
-หากนักเรียนเขียนคำผิดจะเกิดอะไรขึ้น
เครื่องมือคิด :
- Show and Share
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง การสืบค้นข้อมูลและนำเสนอ
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน ร่วมโต๊ะ
-ห้องสมุด
-บทความ
-internet
|
วันจันทร์
ชง : นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์ ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปความเข้าใจโดยการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง
-นักเรียนนำเสนอและอภิปรายร่วมกัน
วันอังคาร
ชง : ครูใช้เกมฮอทบอลในการดำเนินกิจกรรม เมื่อเพลงหยุดแล้วลูกบอลอยู่ที่ใครคนนั้นจะต้องเลือกคำใบบัตรคำที่ครูยกให้ดู ถ้าตอบผิดจะต้องเต้น
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมกันเล่นเกมฮอทบอล
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด การเขียนผิดเกิดจากอะไร ทำไมเป็นอย่างนั้น มีคำไหนอีกไหม
เชื่อม : -นักเรียนศึกษาข้อมูลเรื่องคำที่มักเขียนผิด
ใช้ : รวบรวมคำที่มักเขียนผิดจากบัตรคำมาแต่งนิทานมาแต่งเป็นนิทาน
วันพุธ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าการที่เราเขียนคำผิดทั้งที่เราใช้อยู่ทุกวันมีสาเหตุมาจากอะไร?” ครูแจกบทความให้เด็กอ่าน
เชื่อม : -ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเห็นอะไร จากบทความนี้?”
-นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย เพื่อสร้างความเข้าใจอีกครั้ง
ใช้ : นักเรียนจับคู่ชายหญิง แต่งนิทานจากคำที่มักเขียนผิด ลงใน A3
วันพฤหัสบดี
ชง: เขียนตามคำบอก
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนความรู้
ใช้: นักเรียนหาคำที่มักเขียนผิด บันทึกลงสมุด
|
ภาระงาน
- การพูดเพื่อบอกความรู้สึกของตนเองต่อตัวละคร เหตุการณ์ที่ชอบในเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน ร่วมโต๊ะ
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การสรุปความเข้าใจเป็นแผนภาพโครงเรื่อง
- การสืบค้นข้อมูลคำทีมักเขียนผิดและนำมาแต่งนิทาน
- นำเสนอและอภิปรายร่วมกัน
-การอ่านบทความ
-การแสดงความคิดเห็นต่อบทความ
- การทำใบงาน
ชิ้นงาน
- แผนภาพโครงเรื่อง
- นิทาน
-ใบงาน
|
ความรู้ : รู้และเข้าใจในการเขียนคำไทยให้ถูกต้องจากคำไทยที่มักเขียนผิดและสามารถนำการเขียนที่ถูกต้องไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพในชีวิตประจำวัน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะ ICT
-นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- กล้าพูดกล้าแสดงออก
|
ภาพกิจกรรม
ชิ้นงาน






บันทึกหลังสอน
สัปดาห์นี้พี่ๆ ได้อ่านวรรณกรรมเรื่อง เมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก ตอน “ร่วมโต๊ะ” ซึ่งเริ่มจากการให้พี่ๆได้อ่านออกเสียงพร้อมๆกันหลังจากอ่านจบ ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดต่ออีกว่า “นักเรียนคิดว่าในหนังสือเล่มนี้น่าจะสอนเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร?” พี่ออโต้ “การรับประทานอาหาร” พี่นุ่น ”การรับประทานอาหารร่วมโต๊ะกับผู้ใหญ่” จากนั้นให้นักเรียนสรุปเรื่องโดยการทำแผนภาพโครงเรื่อง จากนั้นเข้าสู่หลักภาษาเรื่องคำที่มักเขียนผิด โดยให้นั่งเป็นวงกลมและเล่นเกมฮอทบอล เมื่อเพลงหยุดแล้วลูกบอลอยู่ที่ใคร ครูจะให้เลือกคำที่เขียนถูก จากนั้นร่วมกันสรุปว่าคำไหนเขียนถูก ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “คำว่า อนุญาติ กับอนุญาต คำไหนเขียนถูก เพราะอะไร ” พี่นุ่น”คำว่าอนุญาตที่ไม่มีสระ อิ เพราะถ้าถ้ามีสระ อิ จะเป็น ญาติ ที่แปลว่าเครือญาติ” ครูใช้คำถามกระตุ้นคิดต่ออีกว่า “คำว่า เท่กับเท่ห์ คำไหนเขียนถูก เพราะอะไร” พี่มายด์ “เท่ ไม่มี ห์ คะ เพราะว่า ถ้ามี ห์ จะคล้ายกับคำว่าเสน่ห์” จากนั้นครูให้นักเรียนนำคำที่เขียนถูกและเขียนผิดที่จากบัตรคำไปแต่งเป็นนิทาน วันต่อมาครูนำบทความที่มีคำเขียนผิดมาให้นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมกันและให้นักเรียนวงกลมคำที่ผิด “ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนสังเกตเห็นอะไร” พี่พลอย ”คำเขียนผิด” ครูใช้คำถามกระตุ้นคิดต่อ “นักเรียนคิกว่ามีคำไหนที่เขียนผิดบ้าง” พี่ภูพาน “ กระเพรา เพราะกะ ต้องไม่มี ร เรือ” พี่มายด์”ใบน่า เพราะ คำว่าน่า ต้องมี ห นำ เป็นหน้า ที่แปลว่าหน้าตา” จากนั้นครูให้นักเรียนจับคู่ชายหญิง แต่งนิทานโดยใช้คำที่มักเขียนผิด ลงในกระดาษ A3 จากนั้นทบทวนความรู้โดยการเขียนตามคำบอกโดยเป็นคำที่มักเขียนผิด ๑๕ คำ สังเกตพี่ๆทุกคนให้ความสนใจและกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เรื่องราวในวรรณกรรมเรื่อง เมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก และมีความActive ในการร่วมกิจกรรมที่ครูจัดให้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น