Week4

ความรู้สึก

      รู้สึกประทับใจกิจกรรมวันไหว้ครูที่ผ่านมา เป็นกิจกรรมที่เรียบง่าย น่าแปลกใจตรงที่ครูมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ปกครองจัดดำเนินการ ซึ่งแปลกจากโรงเรียนทั่วๆไป ที่ครูจะเป็นผู้จัดกิจกรรมให้นักเรียนมาแสดงความเคารพ กิจกรรมผู้ปกครองอาสา ได้เห็นภาพประทับใจหลายๆอย่าง


ป.๕

ป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและยอมรับต่อสิ่งที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงในชีวิตครอบครัวสามารถอธิบายชนิดและหน้าที่ของคำในประโยคได้ สามารถแยกชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค และสามารถนำชนิดของคำไปในสร้างสรรค์งานเขียนในรูปแบบต่างๆได้มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน



Week
Input
Process
Output
Outcome

๖ ๙มิ..
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง :วรรณกรรมเรื่อง น้องแป้ง ตอน ๔
หลักภาษา  :  ชนิดของคำ
(คำนาม คำกริยา คำสรรพนาม คำบุพบท คำสันธาน คำวิเศษณ์)
Key Questions :
-หากพ่อของไซม่อนกลับมาหาเขา ไซม่อนจะรู้สึกอย่างไร
-ชนิดของคำมีความจำเป็นอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Show and Share 
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง การสืบค้นข้อมูลและนำเสนอ
Flow Chart
การสรุปความเข้าใจในรูปแบบชาร์ตภาพและชาร์ตข้อมูล
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
หนังสือน้องแป้ง ตอน ๔
-ห้องสมุด
-อินเตอร์เน็ต
-แถบประโยค

วันจันทร์
เชื่อม ทบทวนวรรณกรรมเรื่อง  น้องแป้ง ทุกตอนที่อ่านผ่านมาแล้ว โดยการเล่าเรื่องหรือสถานการณ์ที่ตนเองชอบและมีความหมายกับตนเองมากที่สุด
ชง  :  นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
เชื่อม นักเรียนเขียนสรุปความเข้าใจโดยการเขียนเป็นการ์ตูนช่อง
-นักเรียนนำเสนอและอภิปรายร่วมกัน
วันอังคาร
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด จากการอ่านวรรณกรรมคำใดเป็นคำนาม แล้วนอกจากคำนามมีคำใดบ้าง?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
           - ครูนำประโยคมาให้นักเรียนวิเคราะห์ชนิดของคำ
ใช้ : นำชนิดของคำที่ได้ไปแต่งประโยคใหม่
วันพุธ
ชง : จับฉลากแบ่งกลุ่มสืบค้นข้อมูลชนิดของคำ สรุปความเข้าใจ
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอในรูปแบบแผ่นกระดาษ (A3)
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าชนิดของคำทั้ง ๖ ชนิดมีความสำคัญและสัมพันธ์กันอย่างไร?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้ :   ให้นักเรียนแต่ละคนไปเลือกคำที่ตนเองสนใจ
(๓ คำ) จากชนิดของคำที่เพื่อนนำเสนอมาแต่งประโยคให้เป็นเรื่องราวพร้อมวาดภาพประกอบ
     -นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจเรื่องชนิดของคำในรูปแบบสมุดบันทึก
    -นักเรียนทำใบงาน
ภาระงาน
- การทบทวนวรรณกรรมเรื่อง น้องแป้ง
- การอ่านวรรณกรรมเรื่อง น้องแป้ง ตอน ๔
- การพูดและเขียนเพื่อบอกความรู้สึกของตนเองต่อตัวละคร  เหตุการณ์ ที่ชอบ
 - การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร  แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
การสรุปความเข้าใจในรูปแบบการ์ตูนช่อง
การจำแนกคำจากประโยคในวรรณกรรม
-การนำชนิดของคำไปแต่งประโยคใหม่
- การแบ่งกลุ่มสืบค้นข้อมูลชนิดของคำ สรุปความเข้าใจในรูปแบบแผ่นกระดาษ (A3)
- การอภิปรายร่วมกัน
-การเลือกคำที่ตนเองสนใจ
(๓ คำ) จากชนิดของคำที่เพื่อนนำเสนอมาแต่งประโยคให้เป็นเรื่องราวพร้อมวาดภาพประกอบ
ชิ้นงาน
- สรุปความเข้าใจโดยการเขียนนิทาน
- แต่งประโยคพร้อมวาดภาพประกอบ
-ใบงาน

ความรู้ : รู้และเข้าใจสามารถอธิบายชนิดและหน้าที่ของคำในประโยคได้ สามารถแยกชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค และสามารถนำชนิดของคำไปในสร้างสรรค์งานเขียนในรูปแบบต่างๆได้มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
พร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- กล้าพูดกล้าแสดงออก

a


ภาพกิจกรรม
 


ชิ้นงาน

 
บันทึกหลังการสอน
      สัปดาห์นี้พี่ป.๕ อ่านวรรณกรรมเรื่องน้องแป้ง ตอนที่ ๔ และให้สรุปความเข้าใจเป็นการ์ตูนช่อง จากนั้นได้ให้น้องแป้งไปดูแลกลุ่มละถุง ชั่งน้ำหนักเท่ากันและใช้ข้อตกลงตามในวรรณกรรม และให้เปลี่ยนกันดูแลคนละวัน พร้อมจดบันทึกกิจกรรม จากนั้นให้พี่ๆทำการ์ดวันครูโดยโค้ดคำสั้นๆและทำเป็นภาพลายเส้น ต่อมาให้พี่จัดหมวดหมู่ชนิดของคำ และให้จับฉลากแบ่งหัวข้อสืบค้นและนำเสนอในรูปแบบที่สนใจ โดยให้ร่วมกันวางแผนและทำเป็น storyboard พร้อมนำเสนอ และให้เล่ากิจกรรมในการดูแลน้องแป้ง พี่สกาย “ผมพาน้องแป้งอ่านหนังสือ ขี่จักรยาน กินข้าวและเข้านอน” พี่โต้ง “ผมพาน้องแป้งไปเตะตะกร้อ ไปกินข้าวนอกบ้าน อ่านหนังสือให้น้องแป้งฟัง และเข้านอน” เห็นได้ว่าสัปดาห์นี้พี่ๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างมาก

ป.๖


เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจการลงโทษด้วยไม้เรียวมีจุดประสงค์หลักเพื่อให้หลาบจำ และไม่ทำพฤติกรรมเช่นนั้นอีก โดยต้องการให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้องดีงามตามที่สังคม กำหนดและเข้าใจสามารถอธิบายชนิดและหน้าที่ของคำในประโยคได้ สามารถแยกชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค และสามารถนำชนิดของคำไปในสร้างสรรค์งานเขียนในรูปแบบต่างๆได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน


Week
Input
Process
Output
Outcome

๖  ๙มิ..
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง : เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน
 ไม้เรียว
หลักภาษา  :  ชนิดของคำ
(คำนาม คำกริยา คำสรรพนาม คำบุพบท คำสันธาน คำวิเศษณ์)
Key Questions :
-นักเรียนเคยโดนลงโทษด้วยไม้เรียวหรือไม่
-นักเรียนรู้จักชนิดของคำคำใดบ้าง
เครื่องมือคิด :
- Show and Share 
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง การสืบค้นข้อมูลและนำเสนอ
Flow Chart
การสรุปความเข้าใจในรูปแบบชาร์ตภาพและชาร์ตข้อมูล
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
-วรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน ไม้เรียว
-แถบประโยค
-ห้องสมุด
-internet

วันจันทร์
เชื่อม ทบทวนวรรณกรรมเรื่อง  เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ทุกตอนที่อ่านผ่านมาแล้ว โดยการเล่าเรื่องหรือสถานการณ์ที่ตนเองชอบและมีความหมายกับตนเองมากที่สุด
         -ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเคยโดนลงโทษด้วยไม้เรียวหรือไม่ แล้วนักเรียนชอบการลงโทษแบบนี้ไหม แล้วมีวิธีลงโทษแบบไหนที่เหมาะสม?
ชง  :  นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
เชื่อม นักเรียนเขียนสรุปความเข้าใจโดยการเขียนเป็นการ์ตูนช่อง
-นักเรียนนำเสนอและอภิปรายร่วมกัน
วันอังคาร
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด จากการอ่านวรรณกรรมคำใดเป็นคำนาม แล้วนอกจากคำนามมีคำใดบ้าง?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
           - ครูนำประโยคมาให้นักเรียนวิเคราะห์ชนิดของคำ
ใช้ : นำชนิดของคำที่ได้ไปแต่งประโยคใหม่
วันพุธ
ชง : จับฉลากแบ่งกลุ่มสืบค้นข้อมูลชนิดของคำ สรุปความเข้าใจ
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอในรูปแบบแผ่นกระดาษ (A3)
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าชนิดของคำทั้ง ๖ ชนิดมีความสำคัญและสัมพันธ์กันอย่างไร?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้ :   ให้นักเรียนแต่ละคนไปเลือกคำที่ตนเองสนใจ
(๓ คำ) จากชนิดของคำที่เพื่อนนำเสนอมาแต่งประโยคให้เป็นเรื่องราวพร้อมวาดภาพประกอบ
     -นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจเรื่องชนิดของคำในรูปแบบสมุดบันทึก
    
ภาระงาน
- การทบทวนวรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก
- การอ่านวรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน ไม้เรียว
- การพูดและเขียนเพื่อบอกความรู้สึกของตนเองต่อตัวละคร  เหตุการณ์ ที่ชอบ
 - การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร  แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
การสรุปความเข้าใจในรูปแบบการ์ตูนช่อง
การจำแนกคำจากประโยคในวรรณกรรม
-การนำชนิดของคำไปแต่งประโยคใหม่
- การแบ่งกลุ่มสืบค้นข้อมูลชนิดของคำ สรุปความเข้าใจในรูปแบบแผ่นกระดาษ (A3)
- การอภิปรายร่วมกัน
-การเลือกคำที่ตนเองสนใจ
(๓ คำ) จากชนิดของคำที่เพื่อนนำเสนอมาแต่งประโยคให้เป็นเรื่องราวพร้อมวาดภาพประกอบ
ชิ้นงาน
- สรุปความเข้าใจโดยการเขียนนิทาน
- แต่งประโยคพร้อมวาดภาพประกอบ
-ใบงาน

ความรู้ :   รู้และเข้าใจสามารถอธิบายชนิดและหน้าที่ของคำในประโยคได้ สามารถแยกชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค และสามารถนำชนิดของคำไปในสร้างสรรค์งานเขียนในรูปแบบต่างๆได้มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง   พูด และเขียน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
พร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นจากวิดีโอคลิปที่ดูและฟัง   รวมทั้งสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
ทักษะการเรียนรู้
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- กล้าพูดกล้าแสดงออก



ภาพกิจกรรม


 

ชิ้นงาน

 
บันทึกหลังการสอน
         สัปดาห์นี้พี่ๆได้อ่านวรรณกรรมเรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน ทางมะพร้าว พี่ๆให้ความสนใจเป็นอย่างมาก พี่ภัทรสนใจว่า “ตักบาตรเทโวยุในช่วงเข้าพรรษาหรือออกพรรษา” พี่กัณฑ์ “ข้าวต้มลูกโยนในวรรณกรรมใช้ทางมะพร้าวในการห่อ แต่ช่วงบุญคูณลานผมเห็นใช้ใบเตยห่อ” จากนั้นให้สรุปความเข้าใจโดยทำเป็นการ์ตูนช่อง ต่อมาให้กระตุ้นความสนใจพี่ๆโดยเปิดภาพผลงานที่เป็นภาพ Infographics พี่ๆให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และให้แบ่งกลุ่ม มาจับฉลากเพื่อสืบค้นข้อมูลชนิดของคำที่กลุ่มตนเองได้และทำในรูปแบบInfographics จากนั้นให้พี่ๆดูคลิปเกี่ยวกับวันครูและให้ดูบทกลอนเกี่ยวกับครู และให้พี่ๆแต่งกลอนคนละ ๒ บท เกี่ยวกับครู จากนั้นให้พี่ๆคิดรูปแบบการนำเสนองานให้เพื่อนๆเข้าใจตามรูปแบบที่สนใจ กลุ่มพี่มุก(อุษ) พี่นิว(ญ) พี่ทับทิม พี่หยี นำเสนอเรื่องคำนามและสรรพนามในรูปแบบแสดงละคร กลุ่มพี่อาย พี่นิว(ช) พี่ก้อย พี่จู นำเสนอเรื่องคำกริยา โดยการใบ้คำ จะเห็นได้ว่าพี่ๆมีควากระตือรือร้นในการทำงาน และสามารถคิดการนำเสนอที่มีรูปแบบความน่าสนใจมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น