Week2

ป.๕
เป้าหมายรายสัปดาห์ :เข้าใจการแบ่งแยกชนชั้นของครู คือ การเอาใจใส่เด็กห้องต้นมักจะได้รับสิทธิมากกว่าห้องท้ายและสามารถอธิบายการสร้างคำซ้ำ คำซ้อนได้และสามารถจัดหมวดหม่ำซ้ำ คำซ้อนได้ และสามารถนำคำซ้ำ คำซ้อนไปสร้างสรรค์งานเขียนตามรูปแบบที่ตนสนใจได้ มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญ บอกข้อคิดของเรื่องและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

Week
Input
Process
Output
Outcome

๒๓  ๒๖
..
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง : วรรณกรรมเรื่อง น้องแป้ง ตอน ๒
หลักภาษา  : 
หลักการสร้างคำ / คำซ้ำ คำซ้อน
Key Questions :
-ถ้านักเรียนเป็นตัวละครในเรื่องนักเรียนจะเข้าโครงการน้องแป้งหรือไม่เพราะเหตุใด
-นักเรียนมีหลักการจำแนกคำซ้ำ คำซ้อนอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Show and Share 
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง
- Blackboard Share 
ครูนำคำเขียนบนกระดาน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
ห้องเรียน
วรรณกรรมเรื่อง   น้องแป้ง ตอน ๒
-บัตรคำ
-ห้องสมุด
-อินเตอร์เน็ต

วันจันทร์
ชง  :  นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
ใช้:นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบ แต่งเรื่องใหม่
วันอังคาร
ชง : ครูใช้รูปภาพแทนตัวอักษรให้นักเรียนดู
เชื่อม :-นักเรียนเขียนเป็นคำให้ถูกต้อง และจัดหมวดหมู่คำครูนำคำไปเขียนบนกระดาน
             -ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรจากคำเหล่านี้?”
        -นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเรื่องคำซ้ำและคำซ้อน
        - นักเรียนศึกษาเรื่องหลักการสร้างคำซ้ำและคำซ้อนบันทึกลงในสมุดเล่มเล็ก
วันพุธ
ชง : นักเรียนค้นหาคำซ้ำ คำซ้อนจากเรื่องน้องแป้ง ตอน ๒ คนละ ๕ คำ
ใช้ : นำมาแต่งประโยควาดภาพประกอบ
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูทบทวนความรู้ที่เรียนมา
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้ : นักเรียนสรุปความเข้าใจหลักการสร้างคำ คำซ้ำ คำซ้อน  ตามรูปแบบความสนใจ

ภาระงาน
-การอ่านวรรณกรรมเรื่อง น้องแป้ง ตอน ๒
-การสรุปความเข้าใจเป็นการ์ตูนช่อง
-การเขียนคำจากรูปภาพ
การศึกษาเรื่องคำซ้ำ คำซ้อน
-การค้นหาคำซ้ำ คำซ้อนจากวรรณกรรมนำมาแต่งประโยควาดภาพประกอบ
-การสรุปความเข้าใจตามรูปแบบความสนใจ
- การพูดและเขียนเพื่อบอกความรู้สึกของตนเองต่อตัวละคร เหตุการณ์ที่ชอบวรรณกรรม
 - การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การเล่าวรรณกรรม
-การสรุปความเข้าใจเป็นการ์ตูนช่อง
-การเขียนคำจากรูปภาพ
การศึกษาเรื่องคำซ้ำ คำซ้อน
-การค้นหาคำซ้ำ คำซ้อนจากวรรณกรรมนำมาแต่งประโยควาดภาพประกอบ
-การสรุปความเข้าใจตามรูปแบบความสนใจ
ชิ้นงาน  
- แต่งเรื่องใหม่
 -การ์ตูนช่อง
-แต่งประโยควาดภาพประกอบ
-สรุปความเข้าใจตามรูปแบบความสนใจ

ความรู้ :  รู้และเข้าใจและสามารถอธิบายการสร้างคำซ้ำ คำซ้อนได้และสามารถจัดหมวดหม่ำซ้ำ คำซ้อนได้ และสามารถนำคำซ้ำ คำซ้อนไปสร้างสรรค์งานเขียนตามรูปแบบที่ตนสนใจได้ มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญ บอกข้อคิดของเรื่องและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- มีมารยาทในการฟังและการพูด


ภาพกิจกรรม

 

ชิ้นงาน

 
บันทึกหลังสอน
        สัปดาห์นี้พี่ๆ ได้อ่านวรรณกรรมเรื่อง น้องแป้ง ตอน “๑” ซึ่งเริ่มจากการให้พี่ๆได้จับคู่กันอ่านออกเสียงพร้อมๆกันหลังจากอ่านจบ ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดต่ออีกว่า “นักเรียนคิดว่าน้องแป้งเป็นใคร?” พี่อั้ม “เด็กชื่อแป้ง” พี่บาส ”เด็กผู้ชายชื่อแป้ง” พี่สุเอก “ถุงแป้ง”จากนั้นให้นักเรียนสรุปเรื่องโดยการทำเป็นการ์ตูนช่องและให้นำวรรณกรรมกลับไปอ่านต่อตอนที่๒ จากนั้นมาช่วยกันสรุปเรื่องราว โดยครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าน้องแป้งเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร?” พี่อั้ม”การทำโครงการวิทยาศาสตร์ของห้องสี่ซี ซึ่งจับได้โครงการน้องแดง แต่แลกกันกับห้องเอจึงได้โครงการน้องแป้ง” จากนั้นเข้าสู่หลักภาษาเรื่องหลักการสร้างคำซ้ำ คำซ้อน โดยแบ่งกลุ่มจากการร้องเพลงผึ้ง แบ่งออกเป็น๔ กลุ่ม ให้ช่วยกันหาคำซ้ำ คำซ้อนในใบปริศนาอักษรไขว้ และให้แต่ละกลุ่มไปเขียนแชร์กันบนกระดาน จากนั้นครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “พี่ๆสังเกตเห็นอะไรจากคำที่อยู่ในปริศนาอักษรไขว้?” พี่แป้ง “คำซ้ำ” พี่อั้ม “คำซ้ำ” พี่บาส ”คำซ้ำ” “พี่ๆสังเกตจากอะไรคะ?” พี่สุเอก”ไม้ยมกครับ” “เช่นคำว่าอะไรคะ?” พี่กุ๊ก “พี่ๆ เด็กๆ” พี่บีม “ไวๆ” “มีคำซ้ำแล้วมีคำไหนที่ชอบมาคู่กันคะ?” พี่น้ำอ้อย”คำซ้อนคะ เช่นคำว่า สนุกสนาน” จากนั้นให้นักเรียนหาคำซ้ำคำซ้อนในวรรณกรรม อย่างละ๕ คำ มาแต่งเป็นเพลง เป็นบทกลอน ต่อมาให้นักเรียนช่วยกันสรุปความเข้าใจเรื่องคำซ้ำคำซ้อนและนำคำซ้ำคำซ้อนมาแต่งนิทานเป็นนิทาน และคิดคำซ้ำหรือคำซ้อน พร้อมแต่งประโยคและพูดต่อกันให้เป็นเรื่องราวเดียวกันที่มีคำซ้ำ คำซ้อน และให้พี่ๆสรุปความเข้าใจเรื่องคำซ้ำ คำซ้อนลงสมุด พี่ๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างมาก สังเกตได้ว่าพี่ๆจะชอบกิจกรรมที่เคลื่อนไหว ชอบเกมการคิด

ป.๖

ป้าหมายรายสัปดาห์ :เข้าใจและตระหนักถึงการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ ช่วยส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพดี ท่านอนหงายเป็นท่านอนที่ดีต่อสุขภาพเพราะเป็นท่านอนที่ไม่มีอะไรมากดทับหน้าอกช่วยให้ระบบทางเดินหายใจทำงานได้อย่างคล่องตัวที่สุด ช่วยให้นอนหลับสนิทและเข้าใจกฎในการรวมคำของ คำสมาส คำสนธิ และ สามารถจำแนกคำสมาส คำสนธิและสามารถนำคำสมาส มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญ บอกข้อคิดของเรื่องและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

Week
Input
Process
Output
Outcome

๒๓  ๒๖
..
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง :วรรณกรรมเรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน การนอน
หลักภาษา  : 
หลักการสร้างคำ
(คำสมาส,คำสนธิ)
Key Questions :
-ถ้านักเรียนนอนหลับพักผ่อนตรงเวลาจะเป็นอย่างไร
-นักเรียนคิดว่าคำสมาสกับคำสนธิมีข้อแตกต่างกันอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Show and Share 
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง การเล่นเกม เอ๊ะคำไหนนะ
- Blackboard Share 
ครูนำคำจากเกมไปเขียนบนกระดาน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
ห้องเรียน
หนังสือเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน การนอน
-เกมเอ๊ะคำไหนนะ
-ห้องสมุด
-internet

วันจันทร์
ชง  :  นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่องย้อนกลับ,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
ใช้:นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบ การ์ตูนช่อง
วันอังคาร
ชง : -ครูทบทวนวรรณกรรม
       -ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดถ้านักเรียนนอนหลับพักผ่อนตรงเวลาจะเป็นอย่างไร?”
       -ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม เล่นเกมเติมคำที่หายไป
เชื่อม :-ครูนำคำไปเขียนบนกระดาน
           -ครูให้นักเรียนจัดหมวดหมู่คำ
          -ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรจากคำเหล่านี้?”
        -นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเรื่องคำสมาสและคำสนธิ
        - นักเรียนศึกษาเรื่องการสร้างคำ  (คำสมาส,คำสนธิ) และบันทึกลงในสมุดเล่มเล็ก
วันพุธ
ชง : -ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด”นักเรียนคิดว่าคำสมาสกับคำสนธิมีข้อแตกต่างกันอย่างไร?”
-นักเรียนคิดว่า จากการที่ได้ไปศึกษาเรื่องการสร้างคำ  (คำสมาส,คำสนธิ)แล้ว นักเรียนคิดว่า ในวรรณกรรมเรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน การนอน มีคำสมาส คำสนธิ หรือไม่?”
เชื่อม : นักเรียนค้นหาคำสมาสและคำสนธิจากเรื่อง เมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก ตอน การนอน
ใช้ : นักเรียนนำคำสมาสและคำสนธิจากเรื่อง เมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก ตอน การนอนมาแต่งนิทาน
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูทบทวนความรู้ที่เรียนมา
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้ : นักเรียนทบทวนความรู้ด้วยการทำใบงาน
ภาระงาน
- การอ่านวรรณกรรมเรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน การนอน
- การพูดและเขียนเพื่อบอกความรู้สึกของตนเองต่อตัวละคร เหตุการณ์ที่ชอบวรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน การนอน
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การเล่าวรรณกรรมเรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน การนอน ย้อนกลับ
 -การเล่นเกมเอ๊ะคำไหนนะ
-การจัดหมวดหมู่คำ
ชิ้นงาน
- การ์ตูนช่องสรุปความเข้าใจเรื่องที่อ่าน
-นิทาน
-ใบงาน
ความรู้ :  รู้และเข้าใจกฎในการรวมคำของ คำสมาส คำสนธิ และ สามารถจำแนกคำสมาส คำสนธิและสามารถนำคำสมาส คำสนธิมาประยุกต์ใช้ในงานเขียนของตนเองในรูปแบบต่างๆได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- มีมารยาทในการฟังและการพูด




ภาพกิจกรรม


ชิ้นงาน

 
บันทึกหลังสอน

         สัปดาห์นี้พี่ๆ ได้อ่านวรรณกรรมเรื่อง เมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก ตอน “การนอน” ซึ่งเริ่มจากการให้พี่ๆได้อ่านออกเสียงพร้อมๆกันหลังจากอ่านจบ ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดต่ออีกว่า “นักเรียนคิดว่าในหนังสือเล่มนี้น่าจะสอนเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร?” พี่ภัทร “การนอนครับ ก่อนนอนต้องอาบน้ำ เพื่อให้นอนหลับสบาย” พี่นิว(ญ)”การสอนไม่ให้นอนดิ้น” จากนั้นให้นักเรียนสรุปเรื่องโดยการวาดภาพห้องนอนของตนเอง จากนั้นเข้าสู่หลักภาษาเรื่องหลักการสร้างคำสมาส คำสนธิ นำบัตรคำมาให้นักเรียนอ่านออกเสียงคนละคำ จากนั้นแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นสองกลุ่มให้นักเรียนจัดหมวดหมู่คำศัพท์ที่กลุ่มตนเองได้ นักเรียนจัดหมวดหมู่ออกเป็น คำนาม คำที่มี ร หัน คำไม่ประวิสรรชนีย์ คำประสม เป็นต้น จากนั้นให้ไปหาคำในวรรณกรรมเรื่อง เมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก ตอน “การนอน”ตามที่นักเรียนได้จัดหมวดหมู่ วันต่อมาให้นักเรียนแชร์คำที่ตนเองได้ค้นหามา และได้นำสื่อการสอนคลิปวิดีโอเรื่องคำสมาสไปเปิดให้เด็กดู แล้วครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “จากการดูคลิปวิดีโอ พี่ๆเข้าใจหลักการสร้างคำสมาสว่าอย่างไร?” พี่อาย”คำสมาสคือการนำคำมาชนกัน” พี่มายด์”การนำคำสองคำคือคำบาลีกับคำสันสกฤตมาชนกัน” ครูใช้คำถามกระตุ้นคิดต่อว่า “มีวิธีการสังเกต หรือวิธีการอ่านอย่างไร?” พี่นุ่น “อ่านออกเสียงอะอุอิ ตรงกลาง” ครูใช้คำถามกระตุ้นคิดต่อว่า”เมื่อมีคำสมาสแล้วจะมีคำใดมาคู่กัน?” นักเรียนไม่ตอบ ครูจึงใบ้ว่าสนนำหน้า และครูเฉลยว่าเป็นสนธิ จากนั่นครูถามต่อว่า “คำสนธิจะมีวิธีการสังเกตอย่างไร?”

พี่นิว(ช) “คำสองคำมาเชื่อมคำกัน” “แล้ววิธีการอ่านออกเสียงละคะ?” พี่นุ่น”อ่านออกเสียงคงเสียงเดิมของสองคำนั้นคะ”
จากนั้นครูให้นักเรียนนำคำเดิมไปจัดหมวดหมู่ใหม่ แยกคำสมาส คำสนธิ และหาคำจากในวรรณกรรมเรื่อง เมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก ตอน “การนอน” อย่างละ ๕ คำ และนำไปแต่งประโยค จากนั้นทบทวนความเข้าใจโดยการนำคำที่ตนเองได้หา เลือกมา ๑ คำ มาแต่งประโยคและพูดต่อกันให้เป็นเรื่องราวรอบวง และช่วยกันสรุปเรื่องคำสมาส สนธิอีกครั้ง และนำไปสรุปลงสมุดเป็นความเข้าใจของตนเอง


ความรู้สึกในสัปดาห์นี้
         สัปดาห์นี้มีเรื่องราวประทับใจมากมาย เริ่มจากกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน เห็นรอยยิ้ม เห็นการเริ่มสร้างสัมพันธภาพ เพื่อนช่วยเพื่อน ภาพนี้เป็นภาพที่น่าประทับใจยิ่งนัก

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมผู้ปกครองอยากเล่า  ซึ่งมาแชร์ประสบการณ์ชีวิตให้ลูกๆในชั้นป.๖ ได้ฟัง ทำให้เก็บมาคิดเป็นข้อเตือนใจ และยึดเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตได้ มีทั้งเรื่องน่าชื่นชมเเละเรื่องที่ทำให้สะเทือนใจ ขอบคุณกิจกรรมดีๆที่ทางโรงเรียนได้มอบให้ 


ยังมีกิจกรรมผู้ปกครองอาสา มาสอนพี่ๆให้หุงข้าวจากเตาถ่าน และต้มไก่บ้าน เป็นการถ่ายทอดความรู้ที่น่าประทับใจเป็นอย่างมาก

 กิจกรรมการห่อข้าวประจำเดือน ขอบคุณกล่องข้าวที่พี่อายได้ห่อมาฝาก ความรู้สึกทั้งหมดตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ดิฉันย้อนกลับไปคิดว่าหากไม่ตัดสินใจมาเรียนครู และไม่เลือกมาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่โรงเรียนแห่งนี้ คงจะไม่ได้เห็นภาพที่น่าประทับใจของเด็กๆ ถึงแม้จะเหนื่อยจะท้อ กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้พี่ๆ บางครั้งพี่ๆจะไม่สนใจ ไม่ฟังที่เราพูด ซึ่งดิฉันคิดว่านั่นคือปัญหาที่ท้าทายมาก คิดเสมอว่าจะทำอย่างไรให้เด็กๆมาสนใจเรา จะทำอย่างไรให้พี่ๆเข้าใจความรู้ที่เราถ่ายทอดให้เขา ดิฉันจะพยายามให้ดียิ่งขึ้นกว่านี้  ขอบคุณเรื่องราวดีๆที่ทำให้ครูหายเหนื่อยนะคะพี่ๆ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น