ความรู้สึก
สัปดาห์นี้รู้สึกประทับใจ
พี่ๆมีความกระตือรื้อร้นที่จะเรียนรู้ และมีความพยายามที่จะจัดการเคลียร์งานค้างของตนเองให้เสร็จและให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังได้ลงมือทำกิจกรรมจิตศึกษาและบอดี้แสกนให้กับพี่ๆป.๖
อีกด้วย ถึงแม้จะทำออกมายังไม่สมบูรณ์100% แต่ก็รู้สึกดีที่มีโอกาสได้ลองทำ จะได้เป็นแนวทางไว้ปรับปรุงในครั้งหน้า

ป.๕
เป้าหมายรายสัปดาห์ : มีความอดทน (เป็นสิ่งที่จำเป็นทั้งด้านความคิด จิตวิญญาณและร่างกาย ที่ช่วยเราให้ปฏิบัติกิจการต่างๆวามสนใจตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเพียรพยายาม ละเอียดรอบคอบ เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายรู้และเข้าใจอ่านออกเสียงคำศัพท์และเขียนคำศัพท์คำตรงข้ามและบอกความหมายได้ถูกต้องได้และสามารถนำคำตรงข้ามไปสร้างสรรค์งานเขียนในรูปแบบต่างๆในชีวิตประจำวันได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
สัปดาห์นี้รู้สึกประทับใจ
พี่ๆมีความกระตือรื้อร้นที่จะเรียนรู้ และมีความพยายามที่จะจัดการเคลียร์งานค้างของตนเองให้เสร็จและให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังได้ลงมือทำกิจกรรมจิตศึกษาและบอดี้แสกนให้กับพี่ๆป.๖
อีกด้วย ถึงแม้จะทำออกมายังไม่สมบูรณ์100% แต่ก็รู้สึกดีที่มีโอกาสได้ลองทำ จะได้เป็นแนวทางไว้ปรับปรุงในครั้งหน้า
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๖
๒๐ – ๒๔
มิ.ย.
๒๕๕๙
|
วรรณกรรมเรื่อง : น้องแป้ง ตอน ๖
หลักภาษา :
คำตรงกันข้าม
Key Questions :
-นักเรียนรู้สึกอย่างไรที่เห็นพฤติกรรมของตัวละครในเรื่อง ชอบทำร้ายน้องแป้ง
-นักเรียนรู้จักคำตรงกันข้ามคำใดบ้าง
เครื่องมือคิด :
- Show and Share
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง การสืบค้นข้อมูลและนำเสนอ
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- หนังสือน้องแป้ง ตอน ๖
-ห้องสมุด
-อินเตอร์เน็ต
|
วันจันทร์
ชง : นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์ ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
เชื่อม : นักเรียนทำ Mind mapping
-นักเรียนนำเสนอและอภิปรายร่วมกัน
วันอังคาร
ชง : ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นสองกลุ่ม ครูแจกบัตรคำให้แต่ละฝ่ายไปฝ่ายละชุด
ผู้เล่นถือบัตรคำคนละ ๑ บัตร
ผู้เล่นยืนเป็นวงกลม ๒ วงครูให้สัญญาณนักเรียนเริ่มส่งบัตรคำให้เพื่อนต่อไปเรื่อยๆ
ครูให้สัญญาณหยุดผู้เล่นทั้งสองฝ่ายวิ่งจับคู่คำกับเพื่อนของตนเอง ใครจับคู่ได้ให้นั่งลง ครูตรวจสอบความถูกต้องของคำ กลุ่มใดจับได้ถูกต้องมาก
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำที่ใช้เล่นเกม
ใช้ : ครูให้นักเรียนนำคิดคำตรงกันข้ามคนละ๕คู่มาแต่งเป็นประโยค
วันพุธ
ชง : ครูมีรูปภาพให้นักเรียนดูแล้วให้นักเรียนบอกคำที่ตรงข้ามกับรูปภาพ
เชื่อม : ครูแจกใบงานให้นักเรียนเติมคำที่ตรงข้ามกับคำที่ครูให้
ใช้: นักเรียนนำคำจากไปงานไปแต่งเป็นนิทาน
วันพฤหัสบดี
ชง :ครูนำคำศัพท์จากวรรณกรรมมาให้พี่ๆเขียนตามคำบอก
เชื่อม : นักเรียนสรุปความเข้าใจเรื่องคำตรงกันข้ามร่วมกันร่วมกัน
ใช้: นักเรียนสรุปความเข้าใจเป็นการ์ตูนช่อง
|
ภาระงาน
- การอ่านวรรณกรรมเรื่อง น้องแป้ง ตอน ๖
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การสรุปความเข้าใจในรูปแบบ Mind mapping
- การทำกิจกรรม Walk Rally ตามล่าหาคำ
- การทำใบงาน
- การวางแผนในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- การนำเสนอชิ้นงาน
- การอภิปรายร่วมกัน
ชิ้นงาน
- Mind mapping
- แต่งประโยค
- ใบงาน
- การ์ตูนช่อง
-นิทาน
|
ความรู้ : รู้และเข้าใจอ่านออกเสียงคำศัพท์และเขียนคำศัพท์คำตรงข้ามและบอกความหมายได้ถูกต้องได้และสามารถนำคำตรงข้ามไปสร้างสรรค์งานเขียนในรูปแบบต่างๆในชีวิตประจำวันได้มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
พร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะ ICT
-นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- กล้าพูดกล้าแสดงออก
|
ภาพกิจกรรม





ชิ้นงาน






บันทึกหลังสอน
สัปดาห์นี้พี่ๆป.๕อ่านวรรณกรรมเรื่อง น้องแป้ง ตอนที่ ๖ ซึ่งจะเป็นตอนสุดท้ายที่เลือกมาเรียนสำหรับวรรณกรรมเรื่อง น้องแป้ง หลังจากอ่านในใจจบ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “ใครทราบบ้างวาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร?” พี่มอญ เป็นเหตุการณ์ที่โรบิ้นเตะน้องแป้งตกลงในลำคลองครับ” พี่อั้ม “หลังจากนั้นไซม่อนก็ได้ถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น โรบิ้นตอบว่าทำไปด้วยโทสะ”พี่อั้ม “หนูชอบตอนที่ไซม่อนไปเจอเด็กที่อยู่ในเปลสะพายเขามองดูแล้วเขาเข้าใจแล้วว่า ผู้ใหญ่ไม่ได้เลี้ยงเด็กเพราะเป็นหน้าที่ แต่เด็กมีความน่ารักน่าทะนุถนอม จากนั้นให้สรุปความเข้าใจเป็นแผนภาพโครงเรื่อง จากนั้นให้พี่ๆได้เคลียร์งานการตัดต่อโดยใช้โปรแกรม imovie เรื่องชนิดของคำให้สำเร็จ จากนั้นได้เข้าหลักภาษาเรื่องคำที่มีความหมายตรงกันข้าม โดยใช้เกมในการนำเข้าสู่บทเรียน ชื่อเกมคู่ฉันอยู่ไหน หลังจากที่ครูแจกฉลากให้พี่ๆเสร็จแล้ว ให้พี่ๆอ่านคำที่ตนได้ให้เพื่อนฟัง จากนั้นครูให้สัญญาณเพื่อตามหาคู่ของตัวเอง หลังจากหาคู่ได้แล้วให้นั่งลง ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “ทำไมพี่ๆถึงจับคู่กับเพื่อนคนนี้ มีวิธีการจับคู่อย่างไรคะ?” พี่อั้ม “คำวิเศษณ์ คำกริยาคะ” ครูใช้คำถามกระตุ้นคิดต่อ “นอกจากคำวิเศษณ์แล้วพี่ๆสังเกตเห็นอะไรอีกคะ?” พี่น้ำอ้อย “คำตรงข้ามกันคะ “ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิดต่อ “อย่างไรคะที่เรียกว่าคำตรงกันข้าม?” พี่เบียร์ “สูง ต่ำ ดำขาวครับ” จากนั้นครูให้ค้นหาคำตรงกันข้ามในวรรณกรรมแล้วเลือกคำตรงกันข้ามไปแต่งเป็นนิทาน จากนั้นได้นำคำศัพท์จากวรรณกรรมเรื่องน้องแป้งมาเขียนตามคำบอกและทบทวนความรู้ร่วมกันเรื่องคำตรงกันข้าม ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด”พี่ๆรู้ไหมคะคำตรงข้ามคืออะไร?” พี่น้ำอ้อย “คำที่มีความหมายตรงข้ามกัน” พี่บาส “คำที่มีความหมายตรงข้ามกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น ดำ ขาว” ครูใช้คำถามกระตุ้นคิดต่อ พี่ๆสามรถจัดหมวดหมู่คำตรงข้ามได้อย่างไร เช่น ดำขาว ควรอยู่ในหมวดใด?” พี่น้ำมนต์”คำวิเศษณ์คะ” พี่น้ำอ้อย “สีคะ” จากนั้นใช้คำถามกระตุ้นคิดต่อเพื่อจัดหมวดหมู่คำตรงกันข้าม และให้พี่ๆสรุปความเข้าใจเรื่องคำตรงกันข้ามเป็นการ์ตูนช่องลงในสมุด สังเกตว่าสัปดาห์นี้พี่มีความสุขในการเรียน และมีความประสงค์ที่จะอ่านวรรณกรรมน้องแป้งต่อ และรู้สึกอยากที่จะมีส่วนร่วมในการแชร์ความคิดกันทุกคน
ป.๖
เป้าหมายรายสัปดาห์ เข้าใจการลงโทษด้วยไม้เรียวมีจุดประสงค์หลักเพื่อให้หลาบจำ และไม่ทำพฤติกรรมเช่นนั้นอีก โดยต้องการให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้องดีงามตามที่สังคมกำหนดและเข้าใจการอ่านและเขียนและสามารถใช้คำพ้องรูป พ้องเสียง ในการสื่อความหมายได้ สามารถนำคำพ้องรูป พ้องเสียงไปใช้สร้างสรรค์งานเขียนในรูปแบบต่างๆได้มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๖
๒๐ – ๒๓
มิ.ย.
๒๕๕๙
|
วรรณกรรมเรื่อง : เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน ไม้เรียว
หลักภาษา :
คำพ้องรูป คำพ้องเสียง
Key Questions :
-นักเรียนเคยคิดว่าการลงโทษด้วยไม้เรียวมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร
-คำพ้องรูปพ้องเสียงต่างกันอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Show and Share
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง การสืบค้นข้อมูลและนำเสนอ
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- บัตรคำ
-วรรณกรรมเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน อีตัก
-ห้องสมุด
-internet
|
วันจันทร์
ชง : นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์ ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปความเข้าใจจากเรื่องที่อ่านในรูปแบบแผนภาพโครงเรื่อง
-นักเรียนนำเสนอและอภิปรายร่วมกัน
วันอังคาร
ชง : ครูแจกบัตรคำให้นักเรียนจัดหมวดหมู่ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะจัดหมวดหมู่คำที่ครูแจกให้อย่างไร ทำไมถึงจัดแบบนี้?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : -จับคู่ศึกษาเรื่องคำพ้องรูปพ้องเสียง
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนค้นหาคำพ้องรูปและพ้องเสียงอย่างละ ๕๐ คำ บันทึกลงในสมุด
วันพุธ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “คำพ้องรูปพ้องเสียงต่างกันอย่างไร?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : ครูยกตัวอย่างคำ ให้นักเรียนคิดคำต่อจากคู่และบอกว่าเป็นคำพ้องรูปหรือพ้องเสียง
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนทำใบงาน
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “คำพ้องรูปพ้องเสียงมีลักษณะอย่างไร?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความรู้เรื่องคำพ้องรูปพ้องเสียงตามความเข้าใจเป็นนิทาน
|
ภาระงาน
- การอ่านเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน ไม้เรียว
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การสรุปเรื่องที่อ่านเป็นแผนภาพโครงเรื่อง
- การจัดหมวดหมู่คำพ้องรูป คำพ้องเสียง
-การศึกษาคำพ้องรูปพ้องเสียง
-สรุปความรู้คำพ้องรูปพ้องเสียงเป็นการ์ตูนช่อง
ชิ้นงาน
-แผนภาพโครงเรื่อง
- นิทาน
-ใบงาน
|
ความรู้ : รู้และเข้าใจการอ่านและเขียนและสามารถใช้คำพ้องรูป พ้องเสียง ในการสื่อความหมายได้ สามารถนำคำพ้องรูป พ้องเสียงไปใช้สร้างสรรค์งานเขียนในรูปแบบต่างๆได้มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
พร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะ ICT
-นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- กล้าพูดกล้าแสดงออก
|
ภาพกิจกรรม





ชิ้นงาน






บันทึกหลังสอน
สัปดาห์นี้พี่ๆป.๖ ได้อ่านวรรณกรรมเรื่องคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน ไม้เรียว โดยอ่านออกเสียง จากนั้นครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “พี่ๆคิดว่าการใช้ไม้เรียวลงโทษมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร?” พี่นุ่น การใช้เรียวลงโทษ จะไม่ได้ทำให้เด็กหลาบจำ แต่จะทำให้เด็กเจ็บและยิ่งดื้อกว่าเดิม” จากนั้นให้สรุปความเข้าใจเป็นแผนภาพโครงเรื่อง จากนั้นครูได้พาไปห้องสมุดเพื่อเล่านิทานคำพ้องรูปพ้องเสียง เพื่อกระตุ้นคิดพี่ๆ พี่นุ่น “หนูรู้แล้วเรื่องคำพ้องรูปพ้องเสียงค่ะ” ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “พี่ๆคิดว่าคำพ้องรูปพ้องเสียงแตกต่างกันอย่างไร?” พี่อาย “คำพ้องรูป คือ คำที่เขียนเหมือนกันแต่อ่านออกเสียงต่างกัน เช่นคำ ที่ครูนำเล่านิทานทาน ตากลมกับ ตา-กลม เขียนเหมือนกันคือ ตากลม” ครูใช้คำถามต่อ“คำพ้องเสียงละคะ?” พี่อ๋อมแอ๋ม “คำที่เขียนต่างกันแต่อ่านเหมือนกัน เช่น หว้า กับ ว่า” จากนั้นครูให้พี่ๆสืบค้นเรื่องคำพ้องรูปพ้องเสียงอย่างละ ๕๐ คำ จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนคำพ้องรูปพ้องเสียงร่วมกัน และครูทดสอบความเข้าใจโดยให้พี่ๆทำใบงานเรื่องคำพ้องรูปพ้องเสียง เนื่องจากวันพฤหัสบดีพี่ๆ ป.๖ ได้ไปเรียนรู้เรื่องการทำขนมจีนนอกสถานที่ จึงไม่ได้เรียนวิชาภาษาไทย จึงจะนำไปสอนต่อในสัปดาห์หน้า สังเกตว่าพี่ๆมีความสนใจที่จะอยากอ่านวรรณกรรมเรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กต่อ พี่ๆจะลุ้นว่าตอนต่อไปคือตอนอะไร หลักภาษาเรื่องคำพ้องรูปพ้องเสียงพี่ๆก็สนใจ แต่จะมีบางคำที่พี่ๆจะยังไม่เข้าใจความหมายจึงอ่านออกเสียงไม่ถูก เช่น กาก กาก ที่เป็นคำพ้องรูป กาก คำแรก อ่านว่า กา-กะ ที่แปลว่า นก
ส่วน กาก อ่านว่า กาก แปลว่า สิ่งที่เหลือเมื่อคั้นหรือคัดเอาส่วนดีออกแล้ว เช่น กากมะพร้าว
ส่วน กาก อ่านว่า กาก แปลว่า สิ่งที่เหลือเมื่อคั้นหรือคัดเอาส่วนดีออกแล้ว เช่น กากมะพร้าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น