ป.๕
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถคาดเดาเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นจากวรรณกรรม เรื่อง น้องแป้ง ตอน ๑ และอธิบายวิธีการสร้างคำในภาษาไทยได้และสามารถจำแนกคำ กลุ่มคำได้ และสามารถนำคำ กลุ่มคำไปสร้างสรรค์เป็นประโยคสื่อสารหรืองานเขียนตามรูปแบบที่ตนสนใจได้มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๑
๑๖ – ๑๙
พ.ค.
๒๕๕๙
|
วรรณกรรมเรื่อง :เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน น้ำฝน
หลักภาษา : หลักการสร้างคำ(คำมูล,คำประสม)
Key Questions :
- นักเรียนคิดว่าน้องแป้งเป็นใคร
-นักเรียนคิดว่าคำกับกลุ่มคำแตกต่างกันอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Show and Share
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง การคิดกลุ่มคำ
- Blackboard Share
ครูนำคำจากเกมไปเขียนบนกระดาน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- หนังสือน้องแป้ง ตอน ๑
-ห้องสมุด
-อินเตอร์เน็ต
| วันจันทร์
ชง : - ครูและนักเรียนทักทายกันในวันเปิดเรียนวันแรก พร้อมทั้งเล่าความประทับใจในช่วงปิดเทอม
- ครูให้นักเรียนดูปกวรรณกรรมเรื่อง น้องแป้ง ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าวรรณกรรมเรื่องน้องแป้ง เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร?”
“น้องแป้งคือใคร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนเขียนคาดเดาเรื่องราวเกี่ยวกับวรรณกรรมและวาดภาพประกอบ
วันอังคาร
ชง : นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์ ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจเรื่องราวจากวรรณกรรม
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวโดยแผนภาพโครงเรื่อง
-นักเรียนนำเสนอแผนภาพโครงเรื่องและอภิปรายร่วมกัน
วันพุธ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด“นักเรียนคิดว่าคำกับกลุ่มคำแตกต่างกันอย่างไร?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง :ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “คำไหนที่นักเรียนชอบ จากการอ่านวรรณกรรมเรื่อง น้องแป้ง ตอนที่๑ เพราะเหตุใด?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมแสดงความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับคำ กลุ่มคำ และบันทึกลงสมุดเล่มเล็ก
วันพฤหัสบดี
ชง :ครูกำหนดคำให้นักเรียนหนึ่งคำ แล้วให้นักเรียนคิดคำมาต่อให้กลายเป็นกลุ่มคำ
เชื่อม:นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้:นักเรียนเลือกคำศัพท์ที่เป็นคำและกลุ่มคำจากการคิดร่วมกันมา แต่งนิทาน
|
ภาระงาน
- การคาดเดาเรื่องราวเกี่ยวกับวรรณกรรม
-การวาดภาพคาดเดาเรื่องจากปกวรรณกรรม
- การอ่านวรรณกรรม
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
-การสรุปความเข้าใจเรื่องราวโดยวาดภาพประกอบ
-การจัดหมวดหมู่บัตรคำมูล คำประสม
-การศึกษาเรื่องหลักการสร้างคำมูล คำประสม
-การแต่งประโยคจากคำมูลและคำประสมและวาดภาพประกอบ
ชิ้นงาน
- ภาพคาดเดาเรื่อง
- ภาพสรุปความเข้าใจเรื่องราว
- ภาพประกอบประโยคพร้อม
|
ความรู้ : รู้และเข้าใจสามารถอธิบายวิธีการสร้างคำในภาษาไทยได้และสามารถจำแนกคำ กลุ่มคำได้ และสามารถนำคำ กลุ่มคำไปสร้างสรรค์เป็นประโยคสื่อสารหรืองานเขียนตามรูปแบบที่ตนสนใจได้มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะ ICT
-นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- มีมารยาทในการฟังและการพูด
|
ขั้นกิจกรรม





ชิ้นงาน



บันทึกหลังการสอน
สัปดาห์นี้พี่ๆ
ได้อ่านวรรณกรรมเรื่อง น้องแป้ง
ซึ่งเริ่มจากการให้พี่ๆได้คาดเดาเรื่องเป็นการคาดเดาเรื่องราวจากปกของวรรณกรรมเรื่องน้องแป้ง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดต่ออีกว่า “นักเรียนคิดว่าในหนังสือเล่มนี้น่าจะมีเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร?” พี่อั้ม “เด็กหญิงที่พ่อแม่เขาทำร้านขนมปัง เขาเลยชื่อแป้ง ” พี่น้ำมนต์ ”เด็กหญิงชื่อแป้ง” พี่บาส “เด็กผู้ชายหนีออกจากบ้าน” จากนั้นเข้าสู่เนื้อหาโดยการให้เขียนตามคำบอกจากบัญชีคำพื้นฐาน
ป.๕ และพาอ่านออกเสียงคำศัพท์ที่เขียนตามคำบอกและนำคำศัพท์อย่างน้อย๕
คำที่นักเรียนเข้าใจมาแต่งเป็นนิทานตามจิตนาการ
จากนั้นให้พี่ๆแบ่งกลุ่มจัดหมวดหมู่เรื่องคำ และกลุ่มคำครูใช้คำถามกระตุ้นคิด”พี่ๆจัดหมวดหมู่อย่างไร?” พี่น้ำอ้อย “กลุ่มหนู จัดเป็น คำเดี่ยว กับคำกลุ่ม” พี่สุเอก “กลุ่มผมจัดเป็นคำเดี่ยวกับกลุ่มคำ” “แล้วพี่ๆมีวิธีจัดอย่างไร?” พี่สุเอก “คำเดี่ยวจะมีพยางค์เดียว เช่น ผ้า
ส่วนกลุ่มคำจะมีสองถึงสามพยางค์ขึ้นไป เช่น ผ้าไหมสุรินทร์” จากนั้นครูให้พี่ๆเลือกคำจากการจัดหมวดหมู่คำ
มาแต่งนิทานจากการสังเกตพี่ๆทุกคนให้ความสนใจและกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เป็นอย่างมาก
ป.๖
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถคาดเดาเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นจากวรรณกรรม เรื่อง เมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก เข้าใจและตระหนักถึงการกักเก็บน้ำฝนเพื่อไว้ใช้ ไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกใหม่อะไรสำหรับคนไทย เรารู้จักการกักเก็บน้ำฝนเพื่อไว้ใช้มาตั้งแต่อดีต ที่ผ่านหลังคามาสู่ทางรองน้ำ หรือรางน้ำมาสู่ตุ่ม บ้านไทยในอดีตที่มักมีตุ่มน้ำเรียงรายเก็บกักน้ำฝนไว้ดื่มกิน เพราะ น้ำ คือสิ่งจำเป็นสิ่งแรกสำหรับการดำรงชีวิตในภาวะสถานการณ์ภัยแล้ง และเข้าใจสามารถจำแนกคำมูล คำประสมและสามารถนำคำมูล คำประสมมาประยุกต์ใช้ในงานเขียนของตนเองในรูปแบบต่างๆได้อย่างเหมาะสม สามารถนำความรู้เรื่องคำมูล คำประสมไปปรับใช้ได้ มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญ บอกข้อคิดของเรื่องและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๑
๑๖ – ๑๙
พ.ค.
๒๕๕๙
|
วรรณกรรมเรื่อง : เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน น้ำฝน
หลักภาษา : หลักการสร้างคำ(คำมูล,คำประสม)
Key Questions :
- นักเรียนไปทำอะไรกันมาบ้างช่วงปิดเทอม
- นักเรียนคิดว่าวรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
-ถ้าเราไม่เก็บนำฝนไว้ใช้จะเป็นอย่างไร
-นักเรียนคิดว่าคำมูลกับคำประสมแตกต่างกันอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Show and Share
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง การออกแบบและจัดหมวดหมู่คำมูล คำประสม
- Wall thinking ผลงาน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน น้ำฝน
-บัตรคำ
|
วันจันทร์
ชง : - ครูและนักเรียนทักทายกันในวันเปิดเรียนวันแรก พร้อมทั้งเล่าความประทับใจในช่วงปิดเทอม
- ครูให้นักเรียนดูปกวรรณกรรมเรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน น้ำฝน ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด“นักเรียนคิดว่าวรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนเขียนคาดเดาเรื่องราวเกี่ยวกับวรรณกรรมและวาดภาพประกอบ
วันอังคาร
ชง : นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์ ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจเรื่องราวจากวรรณกรรม
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวโดยวาดภาพประกอบ
-นักเรียนนำเสนอภาพวาดและอภิปรายร่วมกัน
วันพุธ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด“นักเรียนคิดว่าคำมูลกับคำประสมแตกต่างกันอย่างไร?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม จัดหมวดหมู่คำที่ครูแจกให้
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างจากการจัดหมวดหมู่คำ?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมแสดงความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับคำมูล คำประสม และบันทึกลงสมุดเล่มเล็ก
วันพฤหัสบดี
ชง :ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด“นักเรียนเคยเห็นคำมูล คำประสม คำไหนอีกบ้าง นอกจากที่ครูยกตัวอย่าง?”เชื่อม:นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้:นักเรียนเลือกคำศัพท์ที่เป็นคำมูลและคำประสมจากวรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก ตอน น้ำฝน คนละ ๕ คำ มาแต่งประโยคพร้อมวาดภาพประกอบ
|
ภาระงาน
- การคาดเดาเรื่องราวเกี่ยวกับวรรณกรรม
-การวาดภาพคาดเดาเรื่องจากปกวรรณกรรม
- การอ่านวรรณกรรม
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
-การสรุปความเข้าใจเรื่องราวโดยวาดภาพประกอบ
-การจัดหมวดหมู่บัตรคำมูล คำประสม
-การศึกษาเรื่องหลักการสร้างคำมูล คำประสม
-การแต่งประโยคจากคำมูลและคำประสมและวาดภาพประกอบ
ชิ้นงาน
- ภาพคาดเดาเรื่อง
- ภาพสรุปความเข้าใจเรื่องราว
- ภาพประกอบประโยคพร้อม
|
ความรู้ : รู้และเข้าใจสามารถจำแนกคำมูล คำประสมและสามารถนำคำมูล คำประสมมาประยุกต์ใช้ในงานเขียนของตนเองในรูปแบบต่างๆได้อย่างเหมาะสม สามารถนำความรู้เรื่องคำมูล คำประสมไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะ ICT
-นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- มีมารยาทในการฟังและการพูด
|
ขั้นกิจกรรม
บันทึกหลังการสอน
สัปดาห์นี้พี่ๆ ได้อ่านวรรณกรรมเรื่อง เมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก
ตอน “น้ำฝน” ซึ่งเริ่มจากการให้พี่ๆได้คาดเดาเรื่องเป็นการคาดเดาเรื่องราวจากปกของวรรณกรรมเรื่อง
เมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก ตอน “น้ำฝน” ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดต่ออีกว่า
“นักเรียนคิดว่าในหนังสือเล่มนี้น่าจะมีเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร?”
พี่กัณฑ์ “สมัยตอนคุณคุณตาคุณยายเป็นเด็ก”
พี่นิว(ญ)”ความรักของคุณตาคุณยาย” จากนั้นให้นักเรียนคาดเดาเรื่องโดยการแต่งเรื่องและวาดภาพประกอบ
จากนั้นไปจับกลุ่มกันอ่านและเล่าให้กันฟังให้ทุกคนในกลุ่มเข้าใจกัน
โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “พี่ๆชอบฤดูฝนกันไหมคะ” พี่ภัทร “ ชอบครับ เย็นสบายดี” พี่เบ็ค“ชอบครับได้ออกหาอึ่งหากบ” พี่นุ่น”ไม่ชอบคะ
มันแฉะจากนั้นให้พี่ๆร่วมกันอธิบายเนื้อหาใจความสำคัญของเรื่องแล้วถ่ายทอดความเข้าใจเป็นบรรยายและวาดภาพประกอบ
จากนั้นเข้าสู่เนื้อหาโดยการให้เขียนตามคำบอกจากบัญชีคำพื้นฐาน ป.๖
และพาอ่านออกเสียงคำศัพท์ที่เขียนตามคำบอกและนำคำศัพท์อย่างน้อย๕
คำที่นักเรียนเข้าใจมาแต่งเป็นนิทานตามจิตนาการ
จากการสังเกตพี่ๆทุกคนให้ความสนใจและกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เรื่องราวในวรรณกรรมเรื่อง
เมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก
บันทึกการเรียนรู้ของลูกหนู
ยิ้มต้อนรับสัปดาห์แรกของการเปิดเรียน วันแรกของการเปิดเรียนรู้สึกตื่นเต้นและดีใจที่จะได้เป็นครูจริงๆ
ไม่ใช่การสอบสอนหน้าชั้นเรียนเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา ครั้งนี้เป็นของจริงเด็กจริงๆ
และเจอสถานการณ์จริงๆที่ไม่ได้จำลองขึ้นมา ครั้งนี้ได้รับโอกาสให้สอนวิชาภาษาไทยให้กับพี่ๆป.๕และพี่ๆป.๖
สองชั้นนี้มีความต่างกันมาก
แต่ในความต่างก็มีความเป็นเด็กให้ครูได้ยิ้มและได้ปวดหัวเป็นบางวัน
สัปดาห์แรกก็เจอปัญหาให้แก้
เพราะตามแผนจะต้องสอนโดยใช้วรรณกรรม แต่วรรณกรรมยังไม่มี
ก็แก้ปัญหาโดยการให้เด็กดูเล่มจริง และคาดเดาเรื่องไปก่อน ยอมรับว่าประทับใจพี่ๆเป็นอย่างมาก
ไม่คิดว่าเขาจะมีจินตนาการที่ล้ำเลิศขนาดนี้ ตรวจงานไปยิ้มไป และในการชงเข้าสู่บทเรียนได้ใช้ภาษามือในการทำให้พี่ๆมาสนใจในตัวเรา
ซึ่งก็ได้ผลพี่ๆสนใจ และวันต่อมาก็ถามวันนี้ไม่มีอีกหรอครู
เวลาเดินผ่านเขาก็จะทำภาษามือที่เราสอน แสดงว่าเขาสนใจและจำได้
วันต่อมาก็ยังไม่มีวรรณกรรมอีกก็เลยทดสอบการเขียนตามคำบอกจากบัญชีคำพื้นฐาน
ซึ่งพี่ๆบางคนยังเขียนไม่ค่อยได้ ซึ่งกำลังคิดอยู่ว่าจะทำอย่างไร ให้พี่ๆอ่านออกเขียนได้มากกว่านี้
สิ่งที่ได้เรียนรู้
-การทบทวนวิถี
-การทำสมุดสื่อสาร
-การทำ I YOU WE (Checklist)
-การประชุมผู้ปกครอง
-กิจกรรมชุมนุม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น