Week5

สิ่งที่ประทับใจ

     สัปดาห์นี้ได้เรียนรู้การควบคุมอารมณ์โกรธของตัวเอง การจัดการอารมณ์ไม่ให้ใช้คำพูดที่รุนเเรงกับเด็ก เลือกที่จะไม่สนใจกับการกระทำบางอย่างเเต่ใช้คำพูดเชิงบวกให้การเตือนสติพี่ๆว่าสิ่งที่เขาทำเหมาะสมหรือไม่
      กิจกรรมที่ประทับใจในสัปดาห์นี้เห็นความตั้งใจของพี่ๆในการลงมือทำเส้นขนมจีน  ถึงแม้จะออกมาไม่สำเร็จแต่พี่ๆก็ไม่ละความพยายาม ค้นคิดวิธีที่จะทำให้ออกมาสำเร็จ
 


ป.๕

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและตระหนักถึงสาเหตุปัญหาของเด็กนักเรียนและสามารถบอกความหมายและชนิดและหน้าที่ของคำอุทานได้และสามารถนำความรู้เรื่องคำอุทานไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน



Week
Input
Process
Output
Outcome

๑๓  ๑๖
มิ..
๒๕๕๙

วรรณกรรมเรื่อง : น้องแป้ง ตอน ๕
หลักภาษา  : ชนิดของคำ
(คำอุทาน)
Key Questions :
-นักเรียนเห็นอะไรจากการที่ไซม่อนนำน้องแป้งไปในทุกที่ที่เขาไป
-นักเรียนจะนำคำอุทานไปใช้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Show and Share 
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง การสืบค้นข้อมูลและนำเสนอ
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
หนังสือน้องแป้ง ตอน ๕
-บัตรคำ
-ห้องสมุด
-อินเตอร์เน็ต
วันจันทร์
ชง  :  นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
เชื่อม : นักเรียนแต่งตอนจบใหม่
-นักเรียนนำเสนอและอภิปรายร่วมกัน

วันอังคาร
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “เมื่อนักเรียนมีการ(ตกใจ ดีใจเล็กน้อย เสียใจ กลัวงู)นักเรียนชอบพูดคำไหน
คำเหล่านี้เรียกว่าอะไร?”
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดงของเพื่อน
ใช้ ครูให้นักเรียนแสดงบทบาทสมติประกอบเหตุการณ์ที่มีคำอุทานตามสถานการณ์ที่ครูกำหนดให้
วันพุธ
ชง : นักเรียนแบ่งกลุ่มศึกษาเรื่องคำอุทาน(รูปแบบคำอุทาน การจัดหมวดหมู่ และบันทึกลงสมุด
ใช้: นักเรียนร่วมกันสร้างสรรค์บทละครสั้นหรือรายการโทรทัศน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้เรื่องคำอุทาน
-นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอละครสั้น และร่วมอภิปรายร่วมกัน
วันพฤหัสบดี
ชง :ครูและนักเรียนร่วมทบทวนความรู้เรื่องคำอุทาน
เชื่อม : นักเรียนสรุปความเข้าใจ ผ่าน Mind mapping  
ใช้: นักเรียนทำใบงาน


ภาระงาน
- การอ่านวรรณกรรมเรื่อง น้องแป้ง ตอน ๕
- การพูดและเขียนเพื่อบอก
ความรู้สึกของตนเองต่อตัวละครที่ชอบในวรรณกรรม
 - การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร  แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การสรุปความเข้าใจในรูปแบบแต่งตอนจบใหม่
การแสดงบทบาทสมติประกอบเหตุการณ์ที่มีคำอุทานตามสถานการณ์ที่ครูกำหนดให้
การศึกษาเรื่องคำอุทาน
- การคิดบทละครสั้นและซ้อมการแสดง
- การนำเสนอ
ชิ้นงาน
สรุปความเข้าใจจากเรื่องที่อ่านในรูปแบบแต่งตอนจบใหม่
- บทละครสั้น /แสดงละครสั้น
- Mind mapping  
-ใบงาน
ความรู้ :  รู้และเข้าใจและสามารถบอกความหมายและชนิดและหน้าที่ของคำอุทานได้และสามารถนำความรู้เรื่องคำอุทานไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
พร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงานและบทละคร
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นจากบทความ รวมทั้งสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
ทักษะการเรียนรู้
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- กล้าพูดกล้าแสดงออก



ภาพกิจกรรม


ชิ้นงาน

บันทึกหลังสอน
สัปดาห์นี้พี่ป.๕ได้อ่าวรรณกรรมน้องแป้งตอนที่ ๕ โดยการแบ่งหน้าให้ให้อ่านเป็นกลุ่มในใจ และให้ช่วยกันเล่าถึงตอนที่กลุ่มของตนเองได้ จากนั้นให้สรุปความเข้าใจเป็นการ์ตูนช่อง สืบเนื่องจากสัปดาห์ที่เเล้วพี่ๆเรียนชนิดของคำทั้ง๗ ชนิด และได้สรุปความเข้าใจโดยการตัดต่อใน iMovie แต่ทำไม่เสร็จจึงได้ให้มาทำต่อในสัปดาห์นี้ จนสามารถทำเสร็จเกือบทุกกลุ่ม แต่ยังไม่สำเร็จตามทีแต่ละกลุ่มได้ตั้งเป้าหมายไว้ แต่ภาพรวามถือว่าพี่ป.๕ มีความรู้และเข้าใจในเรื่องชนิดของคำ และสามารถนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานผ่านโปรแกรมiMovie ได้

ป.๖

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจวิธีการเล่นอีกตักเป็นการละเล่นของไทยใช้เม็ดมะขามเท่าๆกัน ห่อใบไม้เป็นรูปช้อนสำหรับตัก ในการตักจะต้องตักทีละเม็ด หากกระเทือนเม็ดอื่นจะหมดสิทธิในการเล่นและสามารถบอกความหมายและชนิดและหน้าที่ของคำอุทานได้และสามารถนำความรู้เรื่องคำอุทานไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน


Week
Input
Process
Output
Outcome

๑๓  ๑๖
มิ..
๒๕๕๙

วรรณกรรมเรื่อง : เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน อีตัก
หลักภาษา  : 
ชนิดของคำ
(คำอุทาน)
Key Questions :
-นักเรียนรู้จักการละเล่นใดบ้าง
-นักเรียนเคยใช้คำอุทานใดบ้างในชีวิตประจำวัน
เครื่องมือคิด :
- Show and Share 
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง การสืบค้นข้อมูลและนำเสนอ
สื่อและแหล่งเรียนรู้
ห้องเรียน
- บัตรคำ
-ห้องสมุด
-internet

วันจันทร์
ชง  :  นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
เชื่อม : นักเรียนแต่งตอนจบใหม่
-นักเรียนนำเสนอและอภิปรายร่วมกัน

วันอังคาร
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าทางมะพร้าวสามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “เมื่อนักเรียนมีการ(ตกใจ ดีใจเล็กน้อย เสียใจ กลัวงู)นักเรียนชอบพูดคำไหน
คำเหล่านี้เรียกว่าอะไร?”
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดงของเพื่อน
ใช้ ครูให้นักเรียนแสดงบทบาทสมติประกอบเหตุการณ์ที่มีคำอุทานตามสถานการณ์ที่ครูกำหนดให้
วันพุธ
ชง : นักเรียนแบ่งกลุ่มศึกษาเรื่องคำอุทาน(รูปแบบคำอุทาน การจัดหมวดหมู่ และบันทึกลงสมุด
ใช้: นักเรียนร่วมกันสร้างสรรค์บทละครสั้นหรือรายการโทรทัศน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้เรื่องคำอุทาน
-นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอละครสั้น และร่วมอภิปรายร่วมกัน
วันพฤหัสบดี
ชง :ครูและนักเรียนร่วมทบทวนความรู้เรื่องคำอุทาน
เชื่อม : นักเรียนสรุปความเข้าใจ ผ่าน Mind mapping  
ใช้: นักเรียนทำใบงาน

ภาระงาน
- การอ่านวรรณกรรมเรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน อีตัก
- การพูดและเขียนเพื่อบอก
ความรู้สึกของตนเองต่อตัวละครที่ชอบในวรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน อีตัก
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร  แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การสรุปความเข้าใจในรูปแบบแต่งตอนจบใหม่
การแสดงบทบาทสมติประกอบเหตุการณ์ที่มีคำอุทานตามสถานการณ์ที่ครูกำหนดให้
การศึกษาเรื่องคำอุทาน
- การคิดบทละครสั้นและซ้อมการแสดง
- การนำเสนอ
ชิ้นงาน
สรุปความเข้าใจจากเรื่องที่อ่านในรูปแบบแต่งตอนจบใหม่ 
- บทละครสั้น /แสดงละครสั้น
- Mind mapping  
-ใบงาน
ความรู้ :  รู้และเข้าใจสามารถบอกความหมายและชนิดและหน้าที่ของคำอุทานได้และสามารถนำความรู้เรื่องคำอุทานไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียนทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
พร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงานและบทละคร
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นจากบทความ รวมทั้งสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
ทักษะการเรียนรู้
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- กล้าพูดกล้าแสดงออก


ภาพกิจกรรม

ชิ้นงาน
 
บันทึกหลังสอน
สัปดาห์นี้พี่ๆป.๖ได้อ่านวรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตาคุณยาย ตอน อีตัก โดยให้อ่านออกเสียง เมื่ออ่านจบครูใช้คำถามกระตุ้นคิด "พีๆคิดว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร?" พี่ภูพาน "เรื่องการละเล่นอีตักในสมัยที่คุณาตายังเด็ก" พี่ๆเคยเล่นอีตักไหม?" พี่การ์ฟิวส์ "ไม่เคยครับ"จากนั้นให้สรุปความเข้าใจจากการอ่านและให้แต่งตอนจบใหม่ จากนั้นครูให้พี่ๆเตีรยมอุปกรณ์สำหรับใช้เล่นอีตัก โดยพี่ๆบอกจะใช้เม็ดมะขาม พี่นุ่น"หนูว่าใช้เม็ดหางนกยูงน่าจะได้เพราะมันคล้ายๆเม็ดหน่อยหน่า" จากนั้นทดสอบพี่ๆโดยการเขียนตามคำบอกและให้เลือกคำไปเขียนในตาราง ๙ ช่อง เพื่อเล่นบิงโก จากนั้นจึงเล่นอีตักจากเม็ดหางนกยูงและใช้ใบชะพลูในการตักเม็ด จากนั้นให้พี่ๆแบ่งกลุ่มออกเป็นสามกลุ่ม และส่งตัวเเทนออกไปเขียนชนิดของคำบนกระดานที่ตนรู้จักให้ได้มากที่สุด และให้เลือกชนิดของคำ มาสามชนิดมาเเต่งประโยค จากนั้นให้กลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนอ คือ คำสันธาน คำอุทาน คำบุพบทออกมานำเสนอให้เพื่อนฟัง และจากนั้นให้พี่ๆสรุปความเข้าใจเรื่องชนิดของคำในรูปแบบที่ตนสนใจ สังเกตว่าพี่ป.๖ สนใจเรียนและมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น