ป.๕
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจถึงปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมจะดูและมักเลือกยุติปัญหาด้วยการทำแท้ง และเข้าใจการอ่านและเขียนและสามารถใช้คำพ้องรูป พ้องเสียง ในการสื่อความหมายได้ สามารถนำคำพ้องรูป พ้องเสียงไปใช้สร้างสรรค์งานเขียนในรูปแบบต่างๆในชีวิตประจำวันได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๗
๒๗ มิ.ย.
-๑ ก.ค.
๒๕๕๙
|
วรรณกรรมเรื่อง :จากเช้าวันหนึ่งถึงก่อนโลกาวินาศ ตอน มาร
หลักภาษา :
-คำพ้องรูปพ้องเสียง
Key Questions :
- คำว่า “มาร” ในที่นี้นักเรียนคิดว่าหมายถึงอะไร
- คำพ้องรูปพ้องเสียงต่างกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Show and Share
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง การสืบค้นข้อมูลและนำเสนอ
- Flow Chart
การสรุปความเข้าใจในรูปแบบชาร์ตภาพและชาร์ตข้อมูล
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเรื่องจากเช้าวันหนึ่งถึงก่อนโลกาวินาศ ตอน มาร
|
วันจันทร์
ชง : นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์ ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปความเข้าใจจากเรื่องที่อ่านในรูปแบบภาพเหตุการณ์ที่สอดคล้องกับเรื่องที่อ่าน
-นักเรียนนำเสนอและอภิปรายร่วมกัน
วันอังคาร
ชง : ครูอ่านบทกลอนที่มีคำพ้องรูปพ้องเสียงให้นักเรียนฟัง พร้อมชูบัตรคำ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด” คำที่ครูชูบัตรคำให้ดู คือคำอะไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
-แบ่งกลุ่มสืบค้นคำพ้องรูปและคำพ้องเสียง
เป็น Infographics พร้อมนำเสนอ
วันพุธ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด“นักเรียนคิดว่าคำพ้องรูปและพ้องเสียงมีลักษณะเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้ : -สรุปความรู้เรื่องคำพ้องรูปพ้องเสียงเป็นนิทาน
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูพูดประโยคให้นักเรียนฟัง ๑ ประโยคให้นักเรียนหาว่ามีคำพ้องรูปและคำพ้องเสียงกี่คำ
ใช้ : นักเรียนถ่ายทอดความเข้าใจโดยการทำใบงาน
|
ภาระงาน
- การอ่านวรรณกรรม เรื่อง จากเช้าวันหนึ่งถึงก่อนโลกาวินาศ ตอน มาร
- การพูดและเขียนเพื่อบอกความรู้สึกของตนเองต่อตัวละครที่ชอบในวรรณกรรม เรื่อง จากเช้าวันหนึ่งถึงก่อนโลกาวินาศ ตอน มาร
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- สรุปความเข้าใจในรูปแบบภาพเหตุการณ์ในเรื่อง
- การฟังบทกลอนที่มีคำพ้องรูปพ้องเสียง
- การสืบค้นข้อมูลคำพ้องรูปและคำพ้องเสียงและสรุปผ่าน Infographics
- การนำเสนอชิ้นงาน
- การอภิปรายร่วมกัน
-การสรุปคำพ้องรูปพ้องเสียงเป็นนิทาน
-การทำใบงาน
ชิ้นงาน
- ภาพเหตุการณ์ในเรื่อง
- Infographics
- นิทาน
-ใบงาน
|
ความรู้ : รู้และเข้าใจการอ่านและเขียนและสามารถใช้คำพ้องรูป พ้องเสียง ในการสื่อความหมายได้ สามารถนำคำพ้องรูป พ้องเสียงไปใช้สร้างสรรค์งานเขียนในรูปแบบต่างๆได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
พร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะ ICT
-นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- กล้าพูดกล้าแสดงออก
|
ภาพกิจกรรม



ชิ้นงาน







บันทึกหลังสอน
สัปดาห์นี้พี่ๆป.๕อ่านวรรณกรรมเรื่อง จากเช้าวันหนึ่งถึงก่อนโลกาวินาศ เริ่มจากให้พี่ๆคาดเดาเรื่องราวจากการฟังชื่อเรื่อง และจากการฟังข้อความที่ปรากฏอยู่ที่ปก จากใจผู้เขียนว่าเขารู้สึกเช่นไร จากนั้นครูใช้คำกระตุ้นคิด “พี่ๆเห็นอะไร รู้สึกอย่างไรจากการฟังชื่อเรื่องและข้อความที่ปรากฏอยู่บนปกวรรณกรรมเล่มนี้?” พี่น้ำมนต์ “จากเช้าวันหนึ่งมันอยากที่จะอธิบาย เราได้แต่เรียนรู้มัน” พี่สุเอก” การเรียนรู้การใช้ชีวิตที่มีความสุขบ้าง ทุกข์บ้างแต่เราสามารถผ่านมันไปได้เพื่อใช้เป็นประสบการณ์ในการดำเนินชีวิต”จากนั้นให้พี่ๆคาดเดาเรื่องโดยการตีความหมายจากคำว่า”จากเช้าวันหนึ่งถึงก่อนโลกาวินาศ” ที่ตนเองเข้าใจ ในรูปแบบบรรยาย จากนั้นให้พี่ๆอ่าน ตอน มาร ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “ตัวละครมีใครบ้าง?” พี่เบียร์ “ระวี โดม หมอ พยาบาล” “เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร?” พี่น้ำอ้อย “การทำแท้ง” “เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมพี่ๆรู้สึกอย่างไร?” พี่แป้ง “รู้สึกว่าไม่เหมาะสม ไม่ควรทำ เราควรรักกันให้ถูกที่ถูกเวลา เมื่อมีปัญหาควรบอกพ่อแม่ไม่ควรใช้วิธีแก้ปัญหาแบบนี้” จากนั้นครูให้พี่ๆสรุปความเข้าใจเป็นการ์ตูนช่อง จากนั้นเข้าสู่หลักภาษาเรื่องคำพ้องรูปพ้องเสียง โดยการนำคำพ้องรูปพ้องเสียงมาเขียนตามคำบอก จากนั้นใช้คำถามกระตุ้นคิดพี่ๆ “พี่ๆเห็นอะไรจากคำเหล่านี้?” พี่แป้ง “คำพ้องรูปพ้องเสียงค่ะ” “แล้วมีคำพ้องรูปกับคำพ้องเสียงแตกต่างกันอย่างไร?” พี่มอญ “คำพ้องรูปเขียนเหมือนกัน แต่อ่านออกเสียงต่างกัน เช่น เพลา เพ-ลา” พี่อั้ม”คำพ้องเสียงอ่านเหมือนกันแต่เขียนต่างกัน เช่น กรรไกร ห่างไกล” จากนั้นครูให้พี่ๆทำใบงานและให้พี่สรุปความเข้าใจเป็นการ์ตูนช่อง สังเกตว่าพี่ๆรู้ว่าคำไหนเป็นคำพ้องรูปพ้องเสียง แต่พี่ๆยังเขียนไม่ถูกต้อง และยังมีบางคนที่สับสนระหว่างคำพ้องรูปกับคำพ้องเสียงอยู่
ป.๖
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจคนที่รู้หนังสือจะได้เปรียบ คนที่ไม่รู้หนังสือ เพราะการอ่าน เป็นการเปิดหน้าต่างให้เราพบโลกที่กว้างขึ้น เราสามารถรู้วัฒนธรรม ประเพณี ความเป็นอยู่ เรื่องราวของประเทศต่างๆ ของคนอีกซีกโลกหนึ่งก็ด้วยการอ่านและเข้าใจการอ่านและเขียนอักษรย่อได้และสามารถนำวิธีการย่อคำไปใช้สร้างสรรค์ในการย่องานเขียนในชีวิตประจำวันได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๗
๒๗-๓๐มิ.ย.
๒๕๕๙
|
วรรณกรรมเรื่อง : เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน หนังสือ
หลักภาษา :
อักษรย่อ
Key Questions :
-นักเรียนชอบอ่านหนังสือประเภทใด
-นักเรียนมีวิธีการอ่านอักษรย่ออย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Show and Share
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง การสืบค้นข้อมูลและนำเสนอ
- Flow Chart
การสรุปความเข้าใจในรูปแบบชาร์ตภาพและชาร์ตข้อมูล
- Blackboard
การเขียนอักษรย่อบนกระดาน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน หนังสือ
-ห้องสมุด
-internet
-คลิบวิดีโอการเขียนช็อตโน๊ตการเรียน
|
วันจันทร์
ชง : นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์ ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปความเข้าใจจากเรื่องที่อ่าน ตามวิธีการเขียนของตนเอง
-นำเสนอวิธีการเขียนของตนเอง
วันอังคาร
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนชอบอ่านหนังสือประเภทใด”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
-นักเรียนลองสร้างสรรค์หลักการเขียนของตนเองในรูปแบบที่ง่ายๆที่เราชอบ (การใช้อักษรย่อ การช็อตโน้ต)
ใช้ : นำเสนอวิธีการเขียนของตนเอง
วันพุธ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเคยพบอักษรย่อในชีวิตประจำที่ไหนบ้าง ลองยกตัวอย่าง
“นักเรียนมีวิธีการอ่านอักษรย่ออย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับศึกษาเรื่องอักษรย่อ
-สรุปความรู้เรื่องศึกษาเรื่องอักษรย่อ ในรูปแบบ ชาร์ตข้อมูล พร้อมนำเสนอ
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูเขียนอักษรย่อบนกระดาน และให้นักเรียนพูดคำเต็มของอักษรย่อนั้น
-ครูให้นักเรียนดูคลิบวิดีโอการเขียนช็อตโน๊ตการเรียน
เชื่อม :ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนมีวิธีการทำอย่างไรให้จำเรื่องที่ตนเองเรียนได้?”
ใช้ : นักเรียนสรุปความเข้าใจเรื่องอักษรย่อในรูปแบบการ์ตูนช่อง
|
ภาระงาน
- การอ่านวรรณกรรม เรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน หนังสือ
- การพูดและเขียนเพื่อบอกความรู้สึกของตนเองต่อตัวละครที่ชอบจากวรรณกรรม เรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน หนังสือ
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-การสรุปเรื่องที่อ่านตามรูปแบบการเขียนของตนเอง
-การศึกษาเรื่องอักษรย่อ
-การดูคลิบวิดีโอการเขียนช็อตโน๊ตการเรียน
-การสรุปความรู้เรื่องอักษรย่อในรูปแบบการ์ตูนช่อง
ชิ้นงาน
-สรุปความเข้าใจวรรณกรรมตามวิธีเขียนของตนเอง
- ชาร์ตข้อมูล
-สมุดรวบรวมอักษรย่อ
-การ์ตูนช่อง
|
ความรู้ : รู้และเข้าใจการอ่านและเขียนอักษรย่อได้และสามารถนำวิธีการย่อคำไปใช้สร้างสรรค์ในการย่องานเขียนในชีวิตประจำวันได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
พร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะ ICT
-นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา
-ดูคลิบวิดีโอการเขียนช็อตโน๊ตการเรียน
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- กล้าพูดกล้าแสดงออก
|
ภาพกิจกรรม




ชิ้นงาน









บันทึกหลังสอน
สัปดาห์นี้พี่ๆป.๖ ได้อ่านวรรณกรรมเรื่องคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน หนังสือ โดยอ่านออกเสียง จากนั้นครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “พี่ๆคิดว่าหนังสือมีความจำเป็นกับชีวิตเราอย่างไร?” พี่ออโต้ “หนังสือทำให้เราเป็นคนที่รอบรู้” จากนั้นให้สรุปความเข้าใจเป็นแต่งเรื่องใหม่ จากนั้นครูพาทำกิจกรรมRally โดยใช้เกม”ตามล่าหาคำ”โดยการนำคำไปซ่อนไว้ในที่ต่างๆภายในห้องเรียนและแบ่งกลุ่มเพื่อตามหาคำ จากนั้นครูให้พี่ๆสังเกตคำที่ได้ว่าเป็นคำอะไร พี่เอส “อักษรย่อ” จากนั้นครูให้พี่ๆค้นหาคำที่สามารถใช้อักษรย่อได้จากในวรรณกรรม และเขียนอักษรย่อที่ตนเองรู้จักลงในสมุด จากนั้นครูนำอักษรย่อที่มีลักษณะต่างกันมาให้พี่ๆดู แล้วให้คำถามกระตุ้นคิดว่า ”พี่ๆสังเกตเห็นอะไร” พี่นุ่น ”ย่อคำโดยใช้พยัญชนะตัวแรกของคำเป็นอักษรย่อแล้วใส่เครื่องหมาย มหัพภาค เช่น อำเภอ (อ.)” พี่ภัทร “ย่อคำโดยใช้พยัญชนะต้นของบางพยางค์ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาคท้ายพยัญชนะต้นแต่ละตัว เช่นพุทธศักราช (พ.ศ.)” พี่อ๋อมแอ๋ม”ย่อโดยใช้พยางค์แรกเช่น โทรศัพท์(โทร.)” พี่ภูพาน”ย่อโดยใช้เครื่องหมายไปยาลน้อย เช่น กรุงเทพมหานคร(กรุงเทพฯ)”ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด”พี่ๆคิดว่าอักษรย่อความจำเป็นอย่างไร?” พี่ภัทร “ใช้ย่อคำยาวให้สั้นลง” “แล้วเวลาอ่านจะอ่านอย่างไร?” พี่พลอย “อ่านคำเต็มของคำนั้น” จากนั้นให้พี่ๆสรุปความเข้าใจเป็นการ์ตูนช่อง ครูลองอ่านอักษรย่อในหนังสือพิมพ์ให้พี่ๆฟังแล้วให้พี่ๆบอกคำที่เป็นคำเต็มของอักษรย่อ พี่ๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี และสามารถดึงความรู้เดิมมาใช้ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น