Week8

สิ่งที่ได้เรียนรู้

สัปดาห์นี้ครูดอกไม้ไม่อยู่ในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ ทำให้ได้ดูแลชั้นเรียนสองคน ได้แก้ไขสถานการณ์ต่างๆด้วยตนเอง ก็สนุกดีได้เรียนรู้การควบคุมอารมณ์ของตนเองมากขึ้น ในตอนเย็นก็มาทำความรู้จักกับเด็กๆมากกว่าในห้องเรียนด้วยการเล่นกับเขา จะทำให้เขาไว้ใจเราและกล้าที่จะคุยกับเรามากขึ้น



ป.๕
เป้าหมายรายสัปดาห์ : รู้และเข้าใจวิถีชีวิตและความผิดพลาดของการใช้ชีวิต ความใคร่ในวัยหนุ่มสาวสามารถอ่านออกเสียง สะกดคำ และบอกความหมายของคำที่มีอักษรนำได้และสามรถจัดหมวดหมู่อักษรนำได้ สามารถนำอักษรนำไปใช้สร้างสรรค์งานเขียนในรูปแบบต่างๆได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
Week
Input
Process
Output
Outcome

๔  ๘
..
๒๕๕๙

วรรณกรรมเรื่อง : จากเช้าวันหนึ่งถึงก่อนโลกาวินาศ ตอน ตะเกียง
หลักภาษา  : 
-อักษรนำ
Key Questions :
-ทำไมแม่ถึงไม่รักพ่อเม้ง?
-นักเรียนรู้จักคำใดบ้างที่เป็นอักษรนำ?
เครื่องมือคิด :
- Show and Share 
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง การสืบค้นข้อมูลและนำเสนอ
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเรื่อง จากเช้าวันหนึ่งถึงก่อนโลกาวินาศ ตอน ตะเกียง
- บัตรคำ
-บทความ


วันจันทร์ 
ชง  :  นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปความเข้าใจจากเรื่องที่อ่านในรูปแบบภาพเหตุการณ์ที่สอดคล้องกับเรื่องที่อ่าน
-นักเรียนนำเสนอและอภิปรายร่วมกัน
วันอังคาร
ชง : ครูใช้เทคนิคการสอนแบบมโนมติ ครูจะให้ตัวเลือกเด็กสองตัวเลือก คือ ใช่กับไม่ใช่ โดยนำบัตรคำที่เป็นอักษรนำและไม่เป็นอักษรนำไปติดบนกระดานฝั่งใช้และไม่ใช่ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด”นักเรียนสังเกตเห็นคำอะไรจากฝั่งที่ใช่
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
       -นักเรียนหาคำที่เป็นอักษรนำอย่างละ ๕ คำ
วันพุธ
ชง : ครูแบ่งกลุ่มแจกบทความให้นักเรียนหาอักษรนำ
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอักษรนำที่กลุ่มตนเองได้
ใช้ ครูให้นักเรียนเลือกคำที่เป็นอักษรนำมาใบ้คำให้เพื่อนกลุ่มอื่นตอบ
วันพฤหัสบดี
ชง ครูส่งลูกบอลให้นักเรียน ใครที่ได้ลูกบอลจะต้องพูดคำที่มีอักษรนำ
ใช้ นักเรียนถ่ายทอดความเข้าใจโดยการเป็นนิทานอักษรนำ
ภาระงาน
- การอ่านวรรณกรรมเรื่องจากเช้าวันหนึ่งถึงก่อนโลกาวินาศ ตอน ตะเกียง
- การพูดและเขียนเพื่อบอกความรู้สึกของตนเองต่อตัวละครที่ชอบในวรรณกรรมเรื่องจากเช้าวันหนึ่งถึงก่อนโลกาวินาศ ตอน ตะเกียง
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร  แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การสรุปความเข้าใจจากเรื่องที่อ่านในรูปแบบบรรยาย
การเล่นจัดหมวดหมู่คำโดยใช้มโนมติ
- ร่วมกันสืบค้นคำที่เป็นอักษรนำ
- นำเสนอชิ้นงาน
ชิ้นงาน
- บรรยายเหตุการณ์ในวรรณกรรม
นิทาน


ความรู้ :  รู้และเข้าใจสามารถอ่านออกเสียง สะกดคำ และบอกความหมายของคำที่มีอักษรนำได้และสามรถจัดหมวดหมู่อักษรนำได้ สามารถนำอักษรนำไปใช้สร้างสรรค์งานเขียนในรูปแบบต่างๆได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
พร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะ ICT
-นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- กล้าพูดกล้าแสดงออก

ภาพกิจกรรม

 


ชิ้นงาน


 

บันทึกหลังการสอน

          สัปดาห์นี้พี่ๆป.๕อ่านวรรณกรรมเรื่อง จากเช้าวันหนึ่งถึงก่อนโลกาวินาศ ตอน ตะเกียง จากนั้นครูให้พี่ๆสรุปความเข้าใจเป็นการเขียนบรรยาย จากนั้นเข้าสู่หลักภาษาเรื่องอักษรนำ โดยการใช้เทคนิคการสอนแบบมโนมติ โดยใช้บัตรคำมาให้นักเรียนเลือกว่าใช่หรือไม่ใช่ จากนั้นนำไปติดบนกระดาน จากนั้นใช้คำถามกระตุ้นคิดพี่ๆ “พี่ๆเห็นอะไรจากคำเหล่านี้?” พี่น้ำอ้อย “คำควบกล้ำคะ” พี่แป้ง “อักษรนำคะ” นักเรียนสังเกตจากอะไรถึงคิดว่าเป็นอักษรนำ? พี่น้ำมนต์ “มี ห นำ หน้าอักษรอื่น ค่ะ” แล้วอักษรนำจะนำอะไร? พี่มิ้นท์ “นำอักษรต่ำเดี่ยวค่ะ” อักษรต่ำเดี่ยวมีอะไรบ้างคะ? พี่แป้ง “งูใหญ่นอนอยู่ ณ ริมวัดโมฬีโลกค่ะ” แล้วที่เราจะใช้ ห นำได้มีพยัญชนะตัวใดบ้าง? พี่ป.๕ “ง ญ ย น ร ล ว ม” จากนั้นครูให้พี่ๆค้นหาคำที่มี ห นำ อักษรต่ำเดี่ยว ครูเขียนคำบนกระดาน แล้วให้พี่ๆออกมาเขียนคำอ่าน ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด อักษรนำเหล่านี้แตกต่างกันอย่างไร? พี่น้ำอ้อย “คำที่มี ห นำอักษรต่ำเดี่ยวค่ะ” พี่บาส “คำที่เขียนปกติแต่พอแจกรูปคำอ่านจะมี ห นำ เช่น ดิเรก อ่านว่า ดิ-เหรกครับ” พี่อั้ม “คำที่มี อ นำ ย มีอยู่ ๔ คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยากค่ะ” จากนั้นครูให้พี่ๆช็อตโน้ตความเข้าใจเรื่องอักษรนำลงในสมุด จากนั้นเฉลยใบงานคำพ้องรูปพ้องเสียงและทบทวนเรื่องอักษรนำอีกครั้ง และให้พี่ๆสรุปความเข้าใจเรื่องอักษรนำเป็นนิทาน สังเกตว่าพี่ๆชอบเขียนตามคำบอกเพราะพี่ๆจะถามทุกครั้งว่าสัปดาห์นี้มีเขียนตามคำบอกไหม และกิจกรรมที่มีการเฉลยบนกระดานพี่ๆจะชอบมาก สังเกตจากอาการดีใจและการเรียกร้องให้ครูเฉลยใบงานต่างๆ

ป.๖

 เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจผ้าซิ่นนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งและเป็นเอกลักษณ์การแต่งกายของหญิงไทยในสมัยโบราณ และเข้าใจการอ่านและเขียนคำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ(ควบแท้) ได้และสามารถจำแนกคำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ ได้ถูกต้องและสามารถนำคำควบกล้ำ(ควบแท้)ไปสร้างสรรค์งานเขียนในรูปแบบต่างๆได้
 มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน

Week
Input
Process
Output
Outcome

๔  ๗
..
๒๕๕๙

วรรณกรรมเรื่อง : เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน ผ้าซิ่น
หลักภาษา  : 
คำควบกล้ำแท้
Key Questions :
-นักเรียนเห็นด้วยกับการนุ่งผ้าซิ่นมาเรียนหรือไม่?
-หากไม่มีคำควบกล้ำใช้ในภาษาไทยจะเป็นอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Show and Share 
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง การสืบค้นข้อมูลและนำเสนอ
Flow Chart
การสรุปความเข้าใจในรูปแบบชาร์ตภาพและชาร์ตข้อมูล
สื่อและแหล่งเรียนรู้
ห้องเรียน
- วรรณกรรม เรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน ผ้าซิ่น
-ห้องสมุด
- internet

วันจันทร์
ชง  :  นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
เชื่อม นักเรียนเขียนสรุปความเข้าใจโดยการเขียนเป็นนิทาน
-นักเรียนนำเสนอและอภิปรายร่วมกัน

วันอังคาร
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนเห็นด้วยกับการนุ่งผ้าซิ่นมาเรียนหรือไม่?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “จากวรรณกรรมที่อ่านนักเรียนพบคำไหนที่เป็นคำควบกล้ำ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าคำไหนเป็นคำควบกล้ำแท้?” 
เชื่อม : แบ่งกลุ่มนักเรียนศึกษาเรื่องคำควบกล้ำแท้
สรุปความเข้าใจในรูปแบบชาร์ตข้อมูล
-นำเสนอในรูปแบบรายการทีวี
วันพุธ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด”นักเรียนคิดว่าคำควบกล้ำแท้เป็นอย่างไร ลองยกตัวอย่าง คำควบกล้ำแท้จากในวรรณกรรม?”
เชื่อม : นักเรียนค้นหาคำควบกล้ำแท้จากวรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก ตอน ผ้าซิ่น
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูทบทวนความรู้ที่เรียนมา
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้ : แต่งเพลงหลักการท่องจำของตนเอง เรื่อง คำควบกล้ำแท้

ภาระงาน
- การอ่านวรรณกรรม เรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน ผ้าซิ่น
- การพูดและเขียนเพื่อบอกความรู้สึกของตนเองต่อตัวละครที่ชอบในวรรณกรรม
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร  แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-การสรุปเรื่องจากวรรณกรรมที่อ่านเป็นนิทาน
-การศึกษาเรื่องคำควบกล้ำแท้
-การนำเสนองานผ่านการแสดง
-การแต่งเพลงหลักการจำคำควบกล้ำแท้
ชิ้นงาน
- นิทาน
-เพลงหลักการท่องจำคำควบกล้ำแท้



ความรู้ :  รู้และเข้าใจการอ่านและเขียนคำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ(ควบแท้) ได้และสามารถจำแนกคำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ ได้ถูกต้องและสามารถนำคำควบกล้ำ(ควบแท้)ไปสร้างสรรค์งานเขียนในรูปแบบต่างๆได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
พร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะ ICT
-นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- กล้าพูดกล้าแสดงออก


ภาพกิจกรรม

ชิ้นงาน



บันทึกหลังการสอน

         สัปดาห์นี้พี่ๆป.๖ อ่านวรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน ผ้าซิ่น เมื่ออ่านในใจจบ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนทราบหรือไม่คนไทยในอดีตนิยมนุ่งผ้าถุงในสมันรัชกาลใด?” พี่ภูพาน”รัชกาลที่๖ครับ” “นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่กับการรณรงค์นุ่งผ้าไทยทุกวันศุกร์?” พี่นุ่น “เห็นด้วยค่ะ เพราะเป็นการอนุรักษ์ผ้าไทย” จากนั้นครูนำเข้าหลักภาษาเรื่องคำควบแท้โดยการนำข้อความที่มีคำควบแท้มาให้นักเรียนทุกคนอ่าน ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเห็นอะไรจากข้อความที่อ่าน?” พี่อ๋อมแอ๋ม “คำควบกล้ำค่ะ” พี่ออโต้ “ คำควบกล้ำแท้ มี ควบ ร ล ว ครับ” จากนั้นครูให้พี่ๆแต่งนิทานโดยใช้คำควบกล้ำแท้ ครูนำเพลงที่แต่งเกี่ยวกับคำควบกล้ำมาให้พี่ๆฟัง แล้วใช้คำถามกระตุ้นคิด “พี่ๆเห็นอะไรจากเพลง?” พี่อาย “หลักการจำคำควบกล้ำแท้ครับ” “พี่ๆคิดว่าเราจะแต่งเพลงหลักการจำคำควบกล้ำแบบเขาได้ไหมคะ?” พี่ป.๖ “ได้ค่ะ/ครับจากนั้นครูให้แบ่งกลุ่มละ ๔ คน ได้ ๖ กลุ่ม ปรึกษากันว่าจะแต่งเพลงคำควบกล้ำแท้โดยใช้ทำนองใด พี่ๆมีความสนใจอยากที่จะนำเพลงของกลุ่มตนเองไปตัดต่อโดยใช้โปรแกรม imovie ครูจึงให้พี่ๆแต่งเพลงให้สำเร็จ และเตรียมความพร้อมในการถ่ายในวันอังคารของสัปดาห์ต่อไป สังเกตว่าจะมีพี่ๆบางคนที่สับสนคำควบกล้ำ กับ คำที่มี ห นำ และคำควบกล้ำ ว จะสับสนกับคำ ที่เป็นสระอัว เช่น สวย ตัว ด้วย จะคิดว่า เป็น คำควบกล้ำ ที่เป็นควบ ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น