สัปดาห์นี้ได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่างจากพี่ๆ
โดยเฉพาะกับพี่ ป.๖ ตอนที่ทำงานกลุ่มสังเกตเห็นความสามัคคีและอะไรหลายๆ อย่าง
เห็นถึงความถนัดของแต่ละคน ที่มารวมกัน บางคนถนัดร้องเพลง บางคนถนัดแต่งเพลง
บางคนถนัดถ่ายภาพ ฯลฯ พอมารวมเป็นกลุ่มแล้วทำให้งานออกมาดี เป็นการเรียนรู้ที่คุ้มค่ามาก ส่วนพี่ๆป.๕ เขาสามารถพูดหรือแสดงความคิดเห็นได้ลึกซึ้ง จนบางครั้งเราคิดไม่ถึงว่า คำพูดเหล่านี้จะออกมาจากความคิดของเด็ก ป.๕
ป.๕
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจว่าจิตสำนึกของคน ไม่ได้อยู่ที่การศึกษาสูงคนที่เรียนไม่เก่งอาจมีจิตสำนึกที่ดีกว่าคนเรียนเก่งเสียอีกและเข้าใจการอ่านและเขียนคำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ(ควบแท้) ได้และสามารถจำแนกคำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ ได้ถูกต้องและสามารถนำคำควบกล้ำ(ควบแท้)ไปสร้างสรรค์งานเขียนในรูปแบบต่างๆได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๙
๑๑ – ๑๕
ก.ค.
๒๕๕๙
|
วรรณกรรมเรื่อง : จากเช้าวันหนึ่งถึงก่อนโลกาวินาศ ตอน ลมหายใจของกาลเวลา
หลักภาษา :
- คำควบกล้ำแท้
Key Questions :
-นักเรียนคิดว่าลมหายใจของกาลเวลาน่าจะหมายถึงอะไร?
-คำควบกล้ำมีกี่ชนิด?
เครื่องมือคิด :
- Show and Share
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง การสืบค้นข้อมูลและนำเสนอ
- Round Rubin
การสรุปความเข้าใจจากเรื่องที่ได้ศึกษา
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมเรื่อง จากเช้าวันหนึ่งถึงก่อนโลกาวินาศ ตอน ลมหายใจของกาลเวลา
-ห้องสมุด
- internet
|
วันจันทร์
ชง : นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์ ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
เชื่อม : - นักเรียนเขียนสรุปความเข้าใจโดยการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง
-นักเรียนนำเสนอและอภิปรายร่วมกัน
วันอังคาร
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “จากวรรณกรรมที่อ่านนักเรียนพบคำไหนที่เป็นคำควบกล้ำ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าคำไหนเป็นคำควบกล้ำแท้?”
เชื่อม : แบ่งกลุ่มนักเรียนศึกษาเรื่องคำควบกล้ำแท้
สรุปความเข้าใจในรูปแบบชาร์ตข้อมูล
-นำเสนอในรูปแบบรายการทีวี
วันพุธ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด”นักเรียนคิดว่าคำควบกล้ำแท้เป็นอย่างไร ลองยกตัวอย่าง คำควบกล้ำแท้จากในวรรณกรรม?”
เชื่อม : นักเรียนค้นหาคำควบกล้ำแท้จากวรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก ตอน ผ้าซิ่น
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูทบทวนความรู้ที่เรียนมา
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้ : แต่งเพลงหลักการท่องจำของตนเอง เรื่อง คำควบกล้ำแท้
-นำเสนอผลงานและอภิปรายร่วมกัน
|
ภาระงาน
- ภาระงาน
- การอ่านวรรณกรรม : จากเช้าวันหนึ่งถึงก่อนโลกาวินาศ ตอน ลมหายใจของกาลเวลา
- การพูดและเขียนเพื่อบอกความรู้สึกของตนเองต่อตัวละครที่ชอบในวรรณกรรม
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-การสรุปเรื่องจากวรรณกรรมที่อ่านเป็นนิทาน
-การศึกษาเรื่องคำควบกล้ำแท้
-การนำเสนองานผ่านการแสดง
-การแต่งเพลงหลักการจำคำควบกล้ำแท้
ชิ้นงาน
- นิทาน
-เพลงหลักการท่องจำคำควบกล้ำแท้
|
ความรู้ : รู้และเข้าใจการอ่านและเขียนคำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ(ควบแท้) ได้และสามารถจำแนกคำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ ได้ถูกต้องและสามารถนำคำควบกล้ำ(ควบแท้)ไปสร้างสรรค์งานเขียนในรูปแบบต่างๆได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
พร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะ ICT
-นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- กล้าพูดกล้าแสดง
|
บันทึกหลังการสอน
สัปดาห์นี้พี่ๆ ป.๕ ได้อ่านวรรณกรรมเรื่อง จากเช้าวันหนึ่ง ถึงก่อนโลกาวินาศ ตอน ลมหายใจของกาลเวลา ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด”ลมหายใจของการเวลา ชื่อนี้พี่ๆ คิดว่าน่าจะหมายถึงอะไร?” พี่สุเอก “ความเปลี่ยนแปลงของช่วงชีวิตครับ” “พี่ได้เรียนรู้อะไรจากวรรณกรรมเรื่องนี้?” พี่สกาย “ผมคิดว่าคนเราถึงแม้จะไม่เก่งเรื่องเรียน แต่เราก็ควรหาสิ่งที่ตนเองถนัดและพยายามทันให้เต็มที่ครับ” จากนั้นเรียนหลักภาษาเรื่องคำควบกล้ำ ครูนำบัตรคำที่เป็นคำควบกล้ำแท้ และคำควบกล้ำไม่แท้ และคำอื่นๆมาให้พี่ดู โดยครูมีตัวเลือกให้พี่ๆตอบแค่ใช่กับไม่ใช้ จากนั้นครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “พี่ๆสังเกตเห็นอะไรจากคำเหล่านี้?” พี่แป้ง “คำควบกล้ำคะ” คำควบกล้ำมีกี่ประเภทคะ? พี่มิ้นท์ “๒ ประเภทคะ คำควบกล้ำแท้กับคำควบกล้ำไม่แท้” จากนั้นครูให้พี่ๆค้นหาคำควบกล้ำในวรรณกรรม ครูนำประพันธ์ที่มีคำควบกล้ำมาให้พี่ๆ อ่าน จากนั้นให้พี่ๆ ช่วยกันจัดหมวดหมู่คำควบกล้ำ จากนั้นครูและพี่ๆช่วยกันสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับคำควบกล้ำ และให้จับคู่แต่งนิทาน โดยใช้คำควบกล้ำ
ป.๖
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดและคุ้มค่าเพราะทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตมนุษย์ถ้าเราใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไปหรือใช้อย่างไม่ถูกวิธีก็อาจทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมาได้ และเข้าใจการอ่านและเขียนคำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ(ควบไม่แท้) ได้และสามารถจำแนกคำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ ได้ถูกต้องและสามารถนำคำควบกล้ำ(ควบไม่แท้)ไปสร้างสรรค์งานเขียนในรูปแบบต่างๆได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
๙
๑๑ – ๑๔
ก.ค.
๒๕๕๙
|
วรรณกรรมเรื่อง : เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน ไม่มีอะไรเหลือทิ้ง
หลักภาษา :
คำควบกล้ำไม่แท้
Key Questions :
-ถ้าเรากินทิ้งกินขว้างจะเป็นอย่างไร
-หากไม่มีคำควบกล้ำใช้ในภาษาไทยจะเป็นอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Show and Share
การนำเสนอชิ้นงาน เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา
- Brainstorms
การระดมสมอง การสืบค้นข้อมูลและนำเสนอ
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
-วรรณกรรม เรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน ไม่มีอะไรเหลือทิ้ง
-ห้องสมุด
- internet
|
วันจันทร์
ชง : นักเรียนอ่านวรรณกรรมโดยการอ่านในใจ
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์ ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
เชื่อม : - นักเรียนเขียนสรุปความเข้าใจโดยการเขียน infographic
-นักเรียนนำเสนอและอภิปรายร่วมกัน
วันอังคาร
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ถ้าเรากินทิ้งกินขว้างจะเป็นอย่างไร?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “จากวรรณกรรมที่อ่านนักเรียนพบคำที่เป็นคำควบกล้ำแท้มาแล้ว ลองค้นหาคำควบกล้ำไม่แท้?”
เชื่อม : แบ่งกลุ่มนักเรียนศึกษาเรื่องคำควบกล้ำไม่แท้แท้หาคำควบกล้ำไม่แท้บันทึกลงสมุด
วันพุธ
ชง : ครูอ่านบทความคำควบกล้ำให้นักเรียนฟัง และถามนักเรียนว่าสังเกตเห็นอะไรจากบทความนี้
เชื่อม : ครูแจกบทความคำควบกล้ำให้นักเรียนลองอ่านออกเสียง
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูทบทวนความรู้ที่เรียนมา
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้ : -นักเรียนทำใบงาน (คำควบกล้ำแท้และคำควบไม่แท้)
|
ภาระงาน
- การอ่านวรรณกรรม เรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน ไม่มีอะไรเหลือทิ้ง
- การพูดและเขียนเพื่อบอกความรู้สึกของตนเองต่อตัวละครที่ชอบในวรรณกรรม
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-การสรุปเรื่องจากวรรณกรรมที่อ่านเป็น infographic
-การค้นหาคำควบกล้ำไม่แท้
-การอ่านบทความคำควบกล้ำ
-การทำใบงาน
ชิ้นงาน
-infographic
-คำควบกล้ำไม่แท้
-ใบงาน
|
ความรู้ : ทักษะ :รู้และเข้าใจการอ่านและเขียนคำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ(ควบไม่แท้) ได้และสามารถจำแนกคำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ ได้ถูกต้องและสามารถนำคำควบกล้ำ(ควบไม่แท้)ไปสร้างสรรค์งานเขียนในรูปแบบต่างๆได้ มีนิสัยรักการอ่านมีมารยาทในการอ่านฟัง พูด และเขียน
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
พร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะ ICT
-นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- กล้าพูดกล้าแสดงออก
|
ภาพกิจกรรม




ชิ้นงาน



บันทึกหลังการสอน
สัปดาห์นี้พี่ ป.๖ ได้อ่านวรรณกรรมเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ตอน ไม่มีอะไรเหลือทิ้ง จากนั้นให้สรุปความเข้าใจเป็นการ์ตูนช่อง และได้สรุปความเข้าใจเรื่องคำควบกล้ำเป็น Infographics และได้ใช้โปรแกรม imovie ตัดต่อเพลงที่สรรค์สร้างมาจากการเรียนรู้เรื่องคำควบกล้ำ สังเกตว่าพี่ๆมีความสุขและกระตือรือร้นในการทำงานชิ้นนี้มา แสดงออกให้เห็นถึงกระบวนการทำงานกลุ่ม ความสามัคคี การวางแผนในการทำงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น